ENGLISH
ความเป็นมา โครงสร้าง
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
กิจกรรม
สารวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 25565
สารวันเอดส์โลก
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 76
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 8
ชมรมเวชบุคคลคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะอนุกรรมการฯ เพื่อผู้สูงอายุ
คณะอนุกรรมการฯ งานเอดส์
จดหมายข่าว
โครงการใหม่แผนกสุขภาพอนามัย
แผนที่เดินทาง

 English  Newsletter 2008

จดหมายข่าว ฉบับปี 2551
1 / 2551  มกราคม - กุมภาพันธ์

>> สาส์นสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 วันผู้ป่วยสาากลครั้งที่16
>> สาส์นพระสังฆราชฯ โอกาสวันผู้ป่วยสากล
>> ท่าทีการเยี่ยมผู้ป่วย โอกาสวันผู้ป่วยสากล
>> ความคืบหน้างานผู้สูงอายุสังฆมณฑล 2550-2551
>> การจัดอบรมเรื่องกองทุนกู้ยืมเพื่อการพัฒนาคน Micro-Finance
>>  สถานการณ์โรคเอดส์ในประเทศไทย

ท่าทีการเยี่ยมผู้ป่วย โอกาสวันผู้ป่วยสากล
พระศาสนจักรให้ความสำคัญกับ "ผู้ป่วย" เป็นพิเศษเพราะในทุกชุมชนเราจะพบผู้ป่วย ในรูปแบบต่างๆ ตลอดเวลา ทั้งผู้เจ็บไข้ได้ป่วยทั่วไปที่ปรากฏอาการชัดทางร่างกาย และผู้ที่เจ็บป่วยด้านจิตใจ ในอดีต การเอาใจใส่ดูแลผู้เจ็บป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้อ่อนแอ ถือเป็นภารกิจหนึ่งที่พระเยซูเจ้าปฏิบัติควบคู่ไปกับภารกิจก่ารไถ่กู้ นั่นเท่ากับเป็นการบอกว่าการดูแลเอาใจใสผู้เจ็บป่วย ผู้สูงอายุ ฯลฯ เป็นภารกิจของคริสตชนด้วย แม้ว่าเราแต่ละคนจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญพิเศษหรือนักจิตวิทยาใดๆ แต่กล่าวได้ว่าการดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วย และผู้สูงอายุ ถือเป็นการกระทำที่ถูกต้องและเหมาะสม และเป็นต้น ผู้ที่เป็นสมาชิกกลุ่มกิจกรรมคาทอลิกต่างๆ ในวัด
 
แผนกสุขภาพอนามัยได้จัดแปลและพิมพ์หนังสือขนาดพกพาเล่มหนึ่งชื่อ "การอภิบาลผู้ป่วย" เพื่อเป็นคู่มือสำหรับการอภิบาลผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยระยะสุดท้าย และผู้สูงอายุ เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย 1.คำแนะนำทั่วไปเมื่อออกไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านและที่โรงพยาบาล 2.การเตรียมตัวเมื่อต้องออกเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยใกล้สิ้นใจ 3.ศีลเจิมผู้ป่วย ศีลมหาสนิท และบทภาวนาสำหรับผู้ป่วย 4.ข้อมูลรายชื่อสถานบริการคาทอลิกที่ให้บริการสังคมด้านสุขภาพอนามัย
 
โอกาสนี้ขอคัดเนื้อหาบางส่วนมานำเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการไปเยี่ยมผู้ป่วยอย่างถูกต้อง
เราทราบกันดีว่า ผู้สูงอายุของเราก็เหมือนเราทุกคน ต่างพยายามที่จะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว เพื่อนฝูงและเพื่อนบ้าน ความต้องการยิ่งใหญ่ที่สุดประการหนึ่งของผู้สูงอายุ คือความรู้สึกว่าตนยังเป็นที่ต้องการ แต่ความรู้สึกว่าตนเป็นภาระต่อคนอื่น เป็นคนไร้ประโยชน์ และเป็นผู้ที่น่าละอายสำหรับครอบครัวคือภาระหนักหน่วงที่สุดในด้านจิตใจสำหรับผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุต้องการคนฟังเรื่องราวของเขา บางครั้งเขาจะเล่าเรื่องเก่าซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ก็ยังรู้สึกดีใจที่ได้เล่าเรื่องของตน ใครที่อยากไปเยี่ยมผู้สูงอายุต้องยอมรับได้กับเรื่องที่พูดซ้ำซากหรือการบ่นจู้จี้ของผู้สูงอายุ
 
1. คำแนะนำในการเยี่ยมผู้ป่วยตามบ้าน
ก่อนการเยี่ยม
1 สวดภาวนาก่อนออกเยี่ยม สวดพร้อมกับเพื่อนที่จะออกไปเยี่ยมด้วยกันหากทำได้ วิงวอนพระจิตเจ้าให้ช่วยท่านเตรียมพร้อมสำหรับทุกสถานการณ์
2 หาเหตุผลสำหรับการเยี่ยม หากเป็นการเยี่ยมครั้งแรกของท่าน ให้ถามตนเองถึงวัตถุประสงค์
ของการเยี่ยมด้วย ต้องเตรียมคำพูดสำหรับการแนะนำตัวต่อครอบครัวที่จะไปเยี่ยม หากท่านไม่สามารถที่จะไปเยี่ยมซ้ำอีกหรือไม่มีเจตนาที่จะไปเยี่ยมอีก ก็จงอย่าไปเสียเลยจะดีกว่า และไม่ควรจะมีความคิดประหลาดๆ เช่น นำผู้ทิ้งวัดกลับเข้าวัด หรือเปลี่ยนความเชื่อของเขาให้มานับถือศาสนาคาทอลิก
3 ก่อนออกเยี่ยมควรนัดเสียก่อน ท่านควรแน่ใจเสียก่อนว่าคนป่วยหรือครอบครัวของเขาต้องการให้มีคนมาเยี่ยมจริงๆ หรือเพราะท่านอยากไปเยี่ยมเองโดยที่เขาไม่ได้ขอร้อง ดังนั้นอย่าไปเยี่ยม หากไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า
4 หาข้อมูลให้กับตนเองเกี่ยวกับศาสนาที่ครอบครัวนั้นนับถือและเกี่ยวกับคนป่วยด้วย สำนึกให้ มากเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและวิธีการแต่งกายหรือเกี่ยวกับเรื่องของอาหารการกิน บางคนไม่อยากให้เพศตรงข้ามมาเยี่ยม ผู้เยี่ยมที่เป็นเพศเดียวกันกับคนป่วยดูจะเหมาะสมกว่า
5 อย่าใส่เสื้อผ้าสีดำเพราะในหลายๆ วัฒนธรรมหมายถึงการไว้ทุกข์
6 หากทราบข่าวเศร้าของเพื่อนบ้าน จงมีความรู้สึกร่วมถึงการสูญเสียนั้น เตรียมพร้อมที่จะรับฟังและสวดภาวนาในใจขณะที่กำลังรับฟังเรื่องราวของเขา นี่เป็นการกระทำที่ให้กำลังใจแก่เขามากกว่าคำพูดใดๆ ที่ท่านอาจนำมากล่าวได้
7 เลือกวันเวลาที่สะดวกสำหรับครอบครัวที่ท่านจะไปเยี่ยม และใช้เวลาเยี่ยมพอสมควรโดยไม่ต้องแสดงอาการรีบเร่ง
 
ระหว่างการเยี่ยม
1 แนะนำตนเองว่ามาจากวัดไหน หน่วยงานไหน หรือจากกลุ่มใดแล้วแต่กรณี แสดงให้เขาเห็นว่าท่านไม่ได้มาเยี่ยมตามลำพัง แต่นำเอาคำภาวนาและความห่วงใยของทั้งชุมชนมาฝากด้วย
เพื่อให้เขามั่นใจว่ามีคนอีกมากที่เห็นใจและอยู่เบื้องหลังในยามที่เขาเกิดมีความยุ่งยาก
2 อย่าให้สัญญาใดๆ ที่ท่านไม่สามารถหรือไม่ได้ตั้งใจที่จะปฏิบัติ จะเป็นการดีกว่าที่ท่านรู้สึกว่า
ตนไม่มีประโยชน์และไม่สามารถช่วยอะไรได้ จะทำให้ผู้อื่นต้องผิดหวังต่อความไว้เนื้อเชื่อใจของเขา แต่ให้ช่วยกันคิดว่าท่านและชุมชนพอจะช่วยเหลืออะไรเขาได้บ้าง
3 ประเมินความต้องการของคนป่วย คุยถึงความต้องการของเขากับครอบครัวของเขาและขออนุญาตเขาก่อนที่จะลงมือทำอะไร คนป่วยและครอบครัวอาจยอมรับความช่วยเหลือของท่านหลังจากที่พวกเขาให้ความเชื่อใจท่านเท่านั้น และสิ่งนี้อาจต้องการการเยี่ยมมากกว่าหนึ่งครั้ง
4 ขออนุญาตก่อนที่จะสวดภาวนาพร้อมกันหรือสวดสำหรับผู้ป่วย ท่านอาจสวดเงียบๆหรือเสียงดังพอได้ยิน ท่านอาจเชิญสมาชิกองครอบครัวให้ร่วมสวดกับท่านก็ได้ แล้วแต่ศาสนาของเขา
5 หากผู้ป่วยเป็นคาทอลิก ท่านควรถามว่าเขาต้องการให้พระสงฆ์มาเยี่ยมไหมเพื่อแก้บาปและรับศีลเจิม ให้ถามด้วยว่าพวกเขาต้องการที่จะรับศีลมหาสนิทไหม
6 ศัตรูร้ายการที่สุดคือ การเร่งรีบ จงพร้อมที่จะอุทิศเวลาของท่านแก่ผู้ป่วยอย่างจริงใจ
7 "ฟัง" ให้มากกว่า "พูด" ถามก็ต่อเมื่อจะทำให้คนป่วยรู้สึกสบายใจขึ้น อย่าพยายามซอกแซกหรือตื๊อเพื่อหาข้อมูลที่เขายังไม่ได้บอก
8 อย่าพยายามกลบเกลื่อนเรื่องที่สร้างความเจ็บปวดของเขา แต่ท่านสามารถรับฟังด้วยความเห็นอกเห็นใจและรับรู้ถึงความเจ็บปวดและความกังวลใจของคนป่วย เลี่ยงใช้คำพูด เช่น "ไม่ต้องเป็นห่วง ทุกอย่างจะดีขึ้นเอง" คำพูดดังกล่าวเป็นการปิดปากคนป่วย ปล่อยให้เขาร้องไห้ โดยที่ท่านทำให้เขามั่นใจว่า ท่านอยู่ที่นั่นเพื่อเขา
9 การไปเยี่ยมครั้งละสองคนมักบังเกิดผลดีกว่าไปคนเดียว เพื่อที่คนหนึ่งจะได้อยู่ข้างคนป่วย ส่วนอีกคนพูดคุยกับครอบครัวของเขา หรือทำอะไรที่เป็นประโยชน์
10 การแตะสัมผัสอาจทำให้เกิดความสบายใจได้มาก ภาษากายเป็นการเน้นถึงความสนใจในการมาเยี่ยม แต่ให้ระมัดระวังการสัมผัสที่ไม่เหมาะสม
11 นัดล่วงหน้าถึงการเยี่ยมครั้งต่อไปเสมอ บอกเขาให้มั่นใจในคำภาวนาและความพยายามของชุมชนเพื่อช่วยเหลือคนป่วยและครอบครัวของเขา ช่วงที่ไม่มีการเยี่ยมอาจโทรศัพท์ไปไถ่ถามจะเป็นความบรรเทาที่ดีสำหรับครอบครัวผู้ป่วย ทำให้พวกเขารู้สึกว่าเขาไม่ได้ถูกทอดทิ้ง
12 การเยี่ยมอย่าให้ยาวนานเกินไป คนป่วยอาจมีคนมาเยี่ยมแยะ หรืออาจเหน็ดเหนื่อยง่าย จงมีความรู้สึกไวต่อความเป็นส่วนตัวของเขาด้วย
13 ระวังอย่าพูดถึงคนป่วยกับญาติถึงแม้คนป่วยจะไม่รู้สึกตัวแล้วก็ตาม เพราะเขาอาจได้การสนทนานั้นเพียงแต่เขาไม่สามารถพูดตอบได้ เป็นเรื่องน่าละอายมากที่เขาจะถูกกล่าวถึงหรือได้รับการปฏิบัติเหมือนเขาเป็นตัวปัญหา
14. เวลาที่ท่านไปเยี่ยมบังเอิญคนป่วยหลับอยู่ ขอให้ท่านสวดภาวนาเงียบๆ หากมีสมาชิกในครอบครัวอยู่ด้วย ท่านอาจใช้เวลานั้นไถ่ถามสถานการณ์ต่างๆของพวกเขาด้วยก็ได้
 
หลังการเยี่ยม
1 เขียนบันทึกเกี่ยวกับการเยี่ยม มอบรายงานนั้นให้กลุ่มและอย่าลืมว่าทุกสิ่งที่พูดไว้เป็นความลับ และอย่านำมาวิพากย์วิจารณ์กัน
2 ติดตามงานที่ให้สัญญาไว้ และพยายามชวนเพื่อนบ้านให้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด
3 สวดภาวนาให้คนป่วยและครอบครัวที่ท่านไปเยี่ยมทุกวัน
4 เป็นการดีกว่า หากให้ความช่วยเหลือครอบครัวเดียวหรือคนป่วยคนเดียวด้วยความสัตย์ซื่อ แทนที่จะเยี่ยมมากมายแล้วเฉื่อยแฉะในการติดตามผล พยายามหาเพื่อนมาร่วมด้วยหลายๆ คนในพันธกิจนี้หากมีคนป่วยหลายคนที่ต้องการความช่วยเหลือ
5 โทรศัพท์ไปขอเยี่ยมก่อนที่จะออกเยี่ยมครั้งต่อไป
6 เมื่อคนป่วยหายดีแล้ว หรือเมื่อสมาชิกคนหนี่งในครอบครัวเสียชีวิตไป ขอให้ไปเยี่ยมอีกสองสามครั้งเพื่อเป็นหลักประกันว่า พวกเขาสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ด้วยดีในสภาพการณ์ใหม่
7 ไม่ควรช่วยเหลือด้านการเงินจากกระเป๋าของท่านเอง โปรดจำไว้ว่าท่านทำในพระนามของพระคริสตเจ้าและท่านถูกส่งไปโดยชุมชน หากท่านผูกพันกับครอบครัวใดจนเกินไป หรือเขาไม่สามารถคืนเงินให้ท่านได้ นั่นอาจกลายเป็นปัญหาของความสัมพันธ์ต่อกันในภายหลัง
 
การเยี่ยมคนป่วย คนชราในสถานพยาบาล
หลักการเยี่ยมคนป่วยที่บ้านใช้ได้หมดยกเว้นข้อต่อไปนี้
1 ต้องเป็นการเยี่ยมที่ใช้เวลาเพียงสั้นๆ เพราะต้องคำนึงถึงกฎระเบียบของโรงพยาบาล
2 ขออนุญาตคนป่วยก่อนที่จะนั่งที่ขอบเตียง การนั่งที่ขอบเตียงก็เพื่อที่จะไม่ให้คนป่วยต้องเกร็ง
มองหรือฟังท่าน
3 หากท่านรู้จักกับคนป่วยดี ให้จับมือเขาเพื่อแสดงถึงความสนิทสนม
4 จงฟังมากกว่าพูด
5 ไม่ใช่ธุระอะไรของท่านที่จะเสนอชื่อแพทย์คนนั้นคนนี้หรือเปลี่ยนวิธีการรักษา คนป่วยอาจรู้สึกว่าไม่ปลอดภัยหรือเกิดอาการสับสนขึ้นได้
6 อย่าซอกแซกเพื่อสนองความมักรู้มักเห็นของท่าน อย่าอ่านแผ่นกระดานแพทย์ที่ปลายเตียงเพื่อทราบว่าแพทย์สั่งยาอะไรไปบ้าง จงพอใจกับข้อมูลที่คนป่วยพูดให้ฟังเท่านั้น
7 สนทนาแบบสร้างสรรค์และให้กำลังใจโดยไม่มีการตัดสินอะไรทั้งสิ้น
8 จงมีความรู้สึกไวต่อคนป่วยอื่นๆ ในห้อง ทักทายพวกเขาอย่างมีมารยาทเมื่อแรกพบและเมื่ออำลา อย่าส่งเสียงดังหรือสวดดังเกินควร จงระลึกว่าการขับร้องและบทสวดยาวๆ ไม่เหมาะสมสำหรับคนป่วยที่มีอาการหนัก
 
เมื่ออัตราการตายลดลง อายุเฉลี่ยของคนสูงขึ้น ดังนั้นในอนาคตอันไม่ไกลนี้ สังคมโลกจะมีประชากรสูงอายุจำนวนมาก ซึ่งมีผู้สูงอายุทั้งที่อยู่ในบ้าน ในสถานบริการของรัฐหรือเอกชน หรือกระทั่งบนท้องถนน วันพรุ่งนี้ยังมาไม่ถึง แต่วันนี้หากท่านมีเวลาจงหาโอกาสไปเยี่ยมผู้เจ็บป่วย ผู้สูงอายุบ้าง และจงขอบคุณพระเป็นเจ้า ที่ท่านยังแข็งแรงพอที่จะเดินไปเยี่ยมผู้อื่นที่กำลังป่วยอยู่
BACK
Information
สื่อแผนกสุขภาพ
แผนงานเวชบุคคลคาทอลิก 2014
ประเมินผลงานเวชบุคคล 2014
แผนงานผู้สูงอายุ 2014
ประเมินผลงานผู้สูงอายุ 2013>
VCD งานด้านเอดส์
VCD งานผู้สูงอายุ
ทำเนียบหน่วยงานด้านเอดส์
ทำเนียบชมรมผู้สูงอายุคาทอลิก
ทำเนียบชมรมเวชบุคคลคาทอลิก
ทำเนียบหน่วยงานสุขภาพ
SuratThani Diocese Ratchaburi Diocese Bangkok Archdiocese Chanthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubon Ratchathani Diocese Tharae Archdiocese Udon Thani Diocese NakhonSawan Diocese Chieng Mai Diocese Chieng Mai Diocese Nakhonsawan Diocese Ratchaburi Diocese Suratthani Diocese Chthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubonratchathani Diocese Tharae Arcdiocese Udonthani Diocese แผนที่
เครือข่ายผู้สูงอายุ
เครือข่ายเวชบุคคล
เครือข่ายงานเอดส์
Chieng Mai Diocese NakhonSawan Diocese Udon Thani Diocese Tharae Archdiocese Ubon Ratchathani Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Chanthaburi Diocese Bangkok Archdiocese Ratchaburi Diocese SuratThani Diocese



© CHC
สำนักเลขาธิการ :
122/11 ถนนนนทรี 14 เขตยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120
Tel. / Fax. 66 2 681 5857 E-mail : chc@cbct.net