ENGLISH
ความเป็นมา โครงสร้าง
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
กิจกรรม
สารวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 25565
สารวันเอดส์โลก
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 76
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 8
ชมรมเวชบุคคลคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะอนุกรรมการฯ เพื่อผู้สูงอายุ
คณะอนุกรรมการฯ งานเอดส์
จดหมายข่าว
โครงการใหม่แผนกสุขภาพอนามัย
แผนที่เดินทาง

 English  Newsletter 2008

จดหมายข่าว ฉบับปี 2551
1 / 2551  มกราคม - กุมภาพันธ์

>> สาส์นสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 วันผู้ป่วยสาากลครั้งที่16
>> สาส์นพระสังฆราชฯ โอกาสวันผู้ป่วยสากล
>> ท่าทีการเยี่ยมผู้ป่วย โอกาสวันผู้ป่วยสากล
>> ความคืบหน้างานผู้สูงอายุสังฆมณฑล 2550-2551
>> การจัดอบรมเรื่องกองทุนกู้ยืมเพื่อการพัฒนาคน Micro-Finance
>>  สถานการณ์โรคเอดส์ในประเทศไทย

สาส์นจากสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16
เนื่องในวันผู้ป่วยสากล ครั้งที่ 16
พี่น้องชายหญิงที่รัก
1. 11 กุมภาพันธ์ วันระลึกถึงพระนางมารีอา พรหมจารีแห่งเมืองลูร์ด เป็นวันประกอบพิธีฉลองวันผู้ป่วยสากล และเป็นโอกาสเหมาะที่จะใคร่ครวญถึงความหมายของความทุกข์ทรมาน และหน้าที่ของคริสตชนที่ต้องโอบรับเมื่อต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานนี้ไม่ว่าในสถานการณ์ใดๆ การเวียนมาบรรจบอีกครั้งของวันผู้ป่วยสากลในปีนี้ มีความหมายเกี่ยวพันกับอีก 2 ปรากฏการณ์ที่สำคัญสำหรับชีวิตของพระศาสนจักร ดังที่เราสามารถสรุปเอาได้จากหัวข้อ"ศีลมหาสนิท เมืองลูร์ดและงานอภิบาลผู้ป่วย" ที่ได้ตั้งไว้ สำหรับโอกาสครบรอบ 150 ปี แห่งการประจักษ์ของพระนางพรหมจารีผู้นิรมลที่เมืองลูร์ดและพิธีเฉลิมฉลอง งานชุมนุมเคารพศีลมหาสนิทนานาชาติ ที่เมือง Qu?bec ในประเทศแคนาดา ด้วยวิธีนี้ พระศาสนจักรตั้งใจเสนอโอกาสพิเศษ เพื่อไตร่ตรองถึงความเกี่ยวพันอันแน่นแฟ้น ระหว่างรหัสธรรมแห่งศีลมหาสนิท บทบาทของพระนางมารีอาในแผนการแห่งความรอด และความเป็นจริงของความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานของมนุษย์
150 ปี แห่งการประจักษ์ที่เมืองลูร์ด เชิญชวนให้เราทอดสายตาจับจ้องไปยังพระนางพรหมจารีผู้ศักดิ์สิทธิ์ ที่ซึ่งการปฏิสนธินิรมลของพระนางนั้นเป็นดั่งของประทานอันสูงส่งและปราศจากการเรียกร้องสิ่งตอบแทน ที่พระเจ้าทรงประทานให้แก่สตรีผู้หนึ่ง เพื่อให้เธอสามารถเข้าร่วมในแผนการของพระองค์อย่างเต็มเปี่ยม ด้วยความเชื่ออันเด็ดเดี่ยวและมั่นคง โดยไม่คำนึงถึงการทดลองและความทุกข์ทรมานใดๆ ที่อาจต้องเผชิญ ด้วยเหตุนี้พระนางมารีอาจึงทรงเป็นแบบอย่างของการยินยอมพร้อมใจต่อน้ำพระทัยของพระเจ้าโดยสมบูรณ์ โดยทรงโอบรับพระวจนาตถ์ไว้ในดวงพระทัยและทรงให้พระองค์ปฏิสนธิ์ในพระครรภ์บริสุทธิ์ของพระนาง ทรงวางพระทัยในพระเจ้าและแม้ด้วยดวงพระทัยที่ถูกแทงด้วยดาบแห่งความทุกข์ (เทียบ ลก.2:35) ก็ไม่ทรงลังเลที่จะมีส่วนร่วมในพระทรมานขององค์พระบุตร ด้วยการรื้อฟื้นคำตอบรับที่ทรงให้ไว้ในวันรับแจ้งสารจากอัครเทวดาอีกครั้งที่แทบเชิงไม้กางเขนของพระองค์บนเขากัลวาริโอ ดังนั้นการรำพึงถึงการปฏิสนธินิรมลของพระนางมารีอา ก็คือการมอบตัววางใจไปตาม "คำตอบรับ" ที่ได้รวมพระนางเข้าในพันธกิจของพระคริสตเจ้า พระผู้ไถ่กู้มนุษยชาติ มอบตัววางใจไปกับการนำทางของพระนาง เพื่อ "ตอบรับ" น้ำพระทัยของพระเจ้าเมื่อถึงคราวของตน ด้วยสุดสิ้นชีวิตความเป็นอยู่ที่คละเคล้าไปด้วยความยินดีและความโศกเศร้า ทั้งความหวังและความผิดหวัง ในความตระหนักรู้ว่าการทดลองก็ดี ความเจ็บปวดก็ดี และความทุกข์ทรมานก็ดี ทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้การจาริกแสวงบุญของเราบนแผ่นดินนี้มั่งคั่งไปด้วยความหมาย
2. หากมิได้รับการดึงดูดใจจากพระคริสต์ก็ไม่สามารถพิศเพ่งรำพึงถึงพระนางมารีอาได้ และไม่มีการพิศเพ่งพระคริสต์ครั้งใดที่จะไม่รู้สึกได้ถึงการประทับอยู่ด้วยของพระนางมารีอา ระหว่างพระมารดาและองค์พระบุตรที่ก่อเกิดขึ้นมาในครรภ์ของพระนางด้วยเดชะพระจิตนั้น มีความผูกพันที่แยกออกจากกันไม่ได้ และความผูกพันอันนี้เราสามารถรู้สึกถึงได้ภายใต้รูปแบบอันน่าพิศวงในศีลมหาสนิท ดังที่บรรดาปิตาจารย์และนักเทวศาสตร์ของพระศาสนจักรได้อธิบายไว้ตั้งแต่ศตวรรษแรกๆ นักบุญ อิลาเรีย แห่ง Poitiers กล่าวยืนยันว่า "พระกายที่เกิดจากพระนางมารีอา อันเนื่องมาจากพระจิตเจ้านั้น คือปังที่มาจากสวรรค์" ในลักษณะเดียวกัน ในจารีตศีลศักดิ์สิทธิ์ Bergomense ในศตวรรษที่ 9 มีเขียนไว้ว่า "พระครรภ์ของพระนางได้ผลิดอกออกมาเป็นผล เป็นปังที่เติมเต็มเราด้วยพระพรจากสวรรค์ พระนางมารีอาได้ทรงนำสิ่งที่เอวาทำให้สูญสลายไปด้วยบาปของนางนั้น กลับคืนสู่ความรอดปลอดภัย" ยิ่งกว่านั้น นักบุญเปียร์ ดาเมียน ตั้งข้อสังเกตว่า "พระกายที่พระนางพรหมจารีผู้มีบุญได้ก่อให้เกิดขึ้นมา พระกายที่ทรงเฝ้ากล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูมาด้วยความรักของมารดานั้น ข้าพเจ้าขอยืนยันอย่างไม่มีที่สงสัยและจะเป็นอื่นไปไม่ได้เลยว่า เป็นพระกายที่เวลานี้ เราได้รับจากพระแท่นศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระโลหิตที่เราดื่มกินดุจศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งความรอดของเรา นี่คือความเชื่อคาทอลิก นี่คือสิ่งที่พระศาสนจักรสั่งสอนมาอย่างซื่อสัตย์มั่นคง" ความผูกพันระหว่างพระนางพรหมจารีผู้ศักดิ์สิทธิ์กับองค์พระบุตร ลูกแกะไร้มลทินผู้ทรงปลดเปลื้องบาปของโลกนั้น ได้แผ่ขยายออกมายังพระศาสนจักรซึ่งเป็นพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้าด้วย พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่สอง ข้ารับใช้ของพระเจ้า ได้ตั้งข้อสังเกตว่า พระนางมารีอาทรงเป็น "สตรีแห่งศีลมหาสนิท" ด้วยชีวิตทั้งหมดของพระนาง ด้วยเหตุนี้พระศาสนจักรซึ่งยึดถือพระนางเป็นแบบอย่าง "จึงได้รับเรียกให้เลียนแบบอย่างในความสัมพันธ์ของพระนางกับรหัสธรรมอันศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วย" (พระสมณสาส์น Ecclesia de Eucharistia,ข้อ 53) อาศัยมุมมองนี้จะทำให้เราเข้าใจได้มากขึ้นว่าเพราะเหตุใดในพิธีแสดงความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระนางพรหมจารีมารีอาที่เมืองลูร์ด จึงผนวกการแสดงความเลื่อมใสศรัทธาที่ร้อนรนต่อศีลมหาสนิท ทั้งด้วยพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณประจำวัน พิธีเฝ้าศีลและการอวยพรศีลมหาสนิทแก่ผู้ป่วย ซึ่งเป็นหนึ่งในช่วงเวลาสำคัญของการจาริกแสวงบุญที่ถ้ำมัซซาเบียลเข้าไว้ด้วย
ผู้จาริกแสวงบุญที่เจ็บป่วยและกลุ่มอาสาสมัครที่คอยให้การดูแลจำนวนมากมายที่เมืองลูร์ดช่วยเราให้ตรึกตรองถึงความห่วงใยเยี่ยงมารดาผู้อ่อนหวาน ที่พระนางพรหมจารีทรงมีต่อความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานของมนุษย์ ในฐานะผู้มีส่วนร่วมในยัญบูชาของพระคริสตเจ้า พระนางมารีอา มารดามหาทุกข์ ผู้ทรงร่วมรับทรมานกับองค์พระบุตรที่แทบเชิงไม้กางเขน และดังนี้พระนางจึงเป็นผู้ที่กลุ่มคริสตชนที่รวมตัวกันอยู่รอบๆ สมาชิกของตนที่กำลังทนทุกข์ทรมาน ซึ่งก็คือเครื่องหมายแห่งพระทรมานของพระคริสตเจ้านั้น รู้สึกได้ถึงการอยู่ใกล้ชิดพวกเขาเป็นพิเศษของพระนาง พระนางมารีอาทรงร่วมทุกข์กับผู้ที่อยู่ในการทดลอง ทรงร่วมส่วนในความหวังของพวกเขา และทรงเป็นความบรรเทาแก่พวกเขาโดยทรงคอยให้ความค้ำจุนช่วยเหลือดุจมารดาของพระนาง และเป็นความจริงมิใช่หรือที่ประสบการณ์ทางฝ่ายจิตที่ผู้ป่วยหลายๆคนได้รับผลักดันให้เราได้เข้าใจมากขึ้นว่า "องค์พระผู้ไถ่ทรงปรารถนาที่จะเข้าถึงในจิตใจของผู้ทนทุกข์ทรมานแต่ละคนโดยzjkoทางดวงพระทัยของพระมารดาของพระองค์ ผู้ทรงเป็น8oแรกและจุดสูงสุดของผู้ที่ได้รับการไถ่ให้รอด" (สมณสารของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่สอง เรื่อง ความหมายของความทุกข์ทรมานของมนุษย์จากแง่ของคริสตชน, ข้อ 26)
3. ถ้าเมืองลูร์ดชี้นำเราให้พิศเพ่งรำพึงถึงความรักฉันมารดา ที่พระนางพรหมจารีผู้นิรมลทรงมีต่อบรรดาบุตรที่ป่วยไข้และทนทุกข์ทรมานของพระนางแล้วละก็ การชุมนุมเคารพศีลมหาสนิทนานาชาติ ครั้งต่อไปก็ย่อมเป็นโอกาสเพื่อที่จะถวายสักการะบูชาแด่พระเยซูคริสต์ผู้ประทับในศีลศักดิ์สิทธิ์บนพระแท่น มอบวางตัวเราไว้กับพระองค์ดุจทรงเป็นความหวังที่ไม่หลอกลวง และน้อมรับพระองค์เสมือนทรงเป็นยาอมตะที่จะบำบัดโรคทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิต พระเยซูคริสต์ทรงไถ่กู้โลกด้วยพระมหาทรมาน การสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระองค์ ทรงต้องการที่จะคงอยู่กับเราดุจ "ปังทรงชีวิต" ตลอดการจาริกแสวงบุญของเราบนแผ่นดินนี้ "ศีลมหาสนิท ของประทานจากพระเจ้าเพื่อชีวิตของโลก" นี่คือหัวข้อของการชุมนุมเคารพศีลมหาสนิท ซึ่งต้องการเน้นว่าศีลมหาสนิทคือของประทานที่พระบิดาทรงมอบให้แก่โลก นั่นคือพระบุตรแต่องค์เดียวของพระองค์ ผู้ทรงมารับเอากายและถูกตรึงกางเขน เป็นพระบุตรนี้เองที่ทรงรวบรวมเราเข้ามาล้อมรอบสำรับแห่งศีลมหาสนิท ดลใจให้มาเป็นศิษย์ของพระองค์และมีจิตวิญญาณที่เปี่ยมไปด้วยความเอาใจใส่ห่วงใยต่อผู้ที่ทนทุกข์ทรมานและผู้เจ็บป่วย เพราะมองเห็นพระพักตร์ของพระผู้เป็นเจ้าของตนในคนเหล่านี้ ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในพระสมณสารเตือนหลังการประชุมซีโนด Sacramentum caritatis ว่า "ชุมชนคริสตชนของเรา เมื่อได้ร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณแล้ว พวกเขายิ่งต้องตระหนักมากยิ่งขึ้นว่า ยัญบูชาของพระคริสตเจ้านั้นมีเพื่อทุกคนและดังนั้นศีลมหาสนิทจึงผลักดันให้แต่ละคนที่เชื่อในพระเจ้าให้ทำตัวเป็นดัง 'ปังที่ถูกบิออก' เพื่อคนอื่น (ข้อ 88) นี้คือพลังสนับสนุนให้เราอุทิศตนเป็นคนแรกในการรับใช้เพื่อนพี่น้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในความยากลำบาก เหตุว่ากระแสเรียกของคริสตชนทุกคนคือการเป็นปังที่ถูกบิออกเพื่อชีวิตของโลกพร้อมกับพระคริสตเจ้านั่นเอง
4. จึงเป็นที่ชัดแจ้งแล้วว่า ศีลมหาสนิทเป็นบ่อเกิดแห่งพลังทางฝ่ายจิตที่จำเป็นสำหรับงานอภิบาลด้านสุขภาพอนามัย ในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้เขาได้มองเห็นถึงคุณค่าที่สามารถช่วยให้รอด ของความทุกข์ทรมานของเขาเอง ดังที่พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่สอง ข้ารับใช้ของพระเจ้า ได้เขียนไว้ในสมณลิขิต เรื่อง ความหมายของความทุกข์ทรมานของมนุษย์จากแง่ของคริสตชน, ข้อ 26) ว่า พระศาสนจักรมองเห็นในพี่น้องชายหญิงที่เจ็บป่วยซึ่งบ่อเกิดอันหลากหลายแห่งพลังเหนือธรรมชาติของพระคริสตเจ้า (เทียบ ข้อ 27) มนุษย์ผู้ยอมรับความทุกข์ทรมานด้วยความรักและความนอบน้อมต่อน้ำพระทัยของพระเจ้า เมื่อเข้ารวมเป็นหนึ่งกับพระคริสต์ด้วยวิธีที่ลี้ลับแล้วเขาจะกลับกลายเป็นเครื่องบูชาที่มีชีวิตเพื่อความรอดพ้นของโลก
พระสันตะปาปาผู้ทรงเป็นที่รักและผู้ดำรงตำแหน่งก่อนข้าพเจ้ายังได้กล่าวยืนยันไว้อีกว่า "ยิ่งมนุษย์ถูกทำให้ตกต่ำเพราะบาปมากเท่าใด ยิ่งโครงสร้างของบาปที่มีอยู่ในโลกปัจจุบันร้ายแรงมากขึ้นเท่าใด พลังอำนาจอันมีประสิทธิภาพที่แฝงอยู่ในความทุกข์ทรมานของมนุษย์ก็ยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้น" (ibid) ดังนั้น หากที่เมือง Qu?bec จะเป็นการพิศเพ่งรำพึงรหัสธรรมแห่งศีลมหาสนิท ซึ่งเป็นของประทานจากพระเจ้าเพื่อชีวิตของโลกแล้วฉันใด ถ้าคิดไปตามแนวคู่ขนานกับความจริงฝ่ายจิตข้อนี้ วันผู้ป่วยสากล จะมิใช่เป็นเพียงแค่พิธีฉลองการร่วมมีส่วนอย่างเป็นรูปธรรมของความทุกข์ทรมานของมนุษย์ในภารกิจการไถ่กู้ของพระเจ้าเท่านั้น แต่ยังสามารถรับผลอันมีค่าที่ได้สัญญาไว้แก่ผู้ที่เชื่อในความจริงข้อนี้ ด้วยเหตุนี้ ความเจ็บปวดที่ถูกโอบรับไว้ด้วยความเชื่อก็กลับกลายเป็นประตูเพื่อก้าวเข้าไปยังรหัสธรรมแห่งความทุกข์ทรมานที่นำความรอดของพระเยซู และเพื่อไปถึงซึ่งสันติสุขนิรันดรแห่งการกลับคืนชีพพร้อมกับพระองค์
4. ขณะที่ข้าพเจ้าฝากความหวังดีจากใจมายังบรรดาผู้ป่วยและผู้ที่ดูแลเอาใจใส่พวกเขาด้วยวิธีต่างๆ ในเวลาเดียวกันข้าพเจ้าขอเชิญชวนให้กลุ่มคริสตชนในสังฆมณฑลและในเขตวัดต่างๆ จัดพิธีฉลองวันผู้ป่วยสากลที่จะมาถึงนี้ โดยให้ความสำคัญอย่างเต็มเปี่ยมกับความสอดคล้องต้องกันอันน่ายินดีระหว่างการครบรอบ 150 ปีแห่งการประจักษ์ของพระนางมารีอาที่เมืองลูร์ด และงานชุมนุมเคารพศีลมหาสนิทนานาชาติ ขอให้เหตุการณ์นี้เป็นโอกาสเพื่อเน้นความสำคัญของพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ การเฝ้าศีลและความศรัทธาต่อศีลมหาสนิท ด้วยการทำให้วัดน้อยตามศูนย์สุขภาพอนามัยต่างๆ กลายเป็นดุจดวงใจที่กำลังทำงาน ที่ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงมอบถวายพระองค์อย่างไม่หยุดหย่อนแด่องค์พระบิดาเพื่อชีวิตของมนุษยชาติ การส่งศีลมหาสนิทแก่ผู้ป่วยที่ทำด้วยความเหมาะสมและด้วยจิตแห่งการภาวนา ย่อมเป็นการบรรเทาที่แท้จริงแก่ผู้ที่ต้องทนรับความเจ็บปวดที่เนื่องมาจากความป่วยไข้ในทุกรูปแบบ
ยิ่งกว่านี้ ขอให้วันผู้ป่วยสากลที่จะมาถึงนี้ กลายเป็นสถานการณ์อันประเสริฐเพื่อวอนขอการปกปักษNรักษาเยี่ยงมารดาของพระนางมารีอาแก่ผู้ที่กำลังถูกทดลองด้วยโรคร้าย แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานด้านสุขภาพอนามัย และแก่บุคคากรในงานอภิบาลด้านสุขภาพเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าพเจ้ากำลังนึกถึง บรรดาพระสงฆ์ที่ทำงานในด้านนี้ บรรดานักบวชหญิงชาย อาสาสมัครและทุกคนที่กำลังอุทิศตนในงานรับใช้ทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิต แก่ผู้ป่วยและผู้ที่อยู่ในความต้องการ ข้าพเจ้าขอมอบฝากทุกคนไว้กับพระนางมารีอาผู้ปฏิสนธินิรมล พระมารดาของพระเจ้าและมารดาของเรา ขอพระนางทรงช่วยแต่ละคนในการเป็นพยานว่า คำตอบหนึ่งเดียวที่ถูกต้องสำหรับความเจ็บปวดและความทรมานของมนุษย์นั้น คือพระคริสต์ ผู้ทรงชนะความตายด้วยการกลับคืนชีพ และทรงมอบชีวิตที่ไม่รู้จักการจบสิ้นให้แก่เรา และพร้อมกับความรู้สึกเหล่านี้ ข้าพเจ้าขอส่งมอบการอวยพรอันสืบทอดมาจากบรรดาอัครสาวกมายังทุกคน
ให้ไว้ ณ นครวาติกัน, 11 มกราคม 2008
พระสันตะปาปา เบเนดิกต์โต ที่ 16
แปลโดย คณะภคินีผู้รับใช้คนป่วยแห่งนักบุญคามิลโล
(ซิสเตอร์คามิลเลียน)
BACK
Information
สื่อแผนกสุขภาพ
แผนงานเวชบุคคลคาทอลิก 2014
ประเมินผลงานเวชบุคคล 2014
แผนงานผู้สูงอายุ 2014
ประเมินผลงานผู้สูงอายุ 2013>
VCD งานด้านเอดส์
VCD งานผู้สูงอายุ
ทำเนียบหน่วยงานด้านเอดส์
ทำเนียบชมรมผู้สูงอายุคาทอลิก
ทำเนียบชมรมเวชบุคคลคาทอลิก
ทำเนียบหน่วยงานสุขภาพ
SuratThani Diocese Ratchaburi Diocese Bangkok Archdiocese Chanthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubon Ratchathani Diocese Tharae Archdiocese Udon Thani Diocese NakhonSawan Diocese Chieng Mai Diocese Chieng Mai Diocese Nakhonsawan Diocese Ratchaburi Diocese Suratthani Diocese Chthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubonratchathani Diocese Tharae Arcdiocese Udonthani Diocese แผนที่
เครือข่ายผู้สูงอายุ
เครือข่ายเวชบุคคล
เครือข่ายงานเอดส์
Chieng Mai Diocese NakhonSawan Diocese Udon Thani Diocese Tharae Archdiocese Ubon Ratchathani Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Chanthaburi Diocese Bangkok Archdiocese Ratchaburi Diocese SuratThani Diocese



© CHC
สำนักเลขาธิการ :
122/11 ถนนนนทรี 14 เขตยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120
Tel. / Fax. 66 2 681 5857 E-mail : chc@cbct.net