ENGLISH
ความเป็นมา โครงสร้าง
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
กิจกรรม
สารวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 25555
สารวันเอดส์โลก
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 76
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 8
ชมรมเวชบุคคลคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะอนุกรรมการฯ เพื่อผู้สูงอายุ
คณะอนุกรรมการฯ งานเอดส์
จดหมายข่าว
โครงการใหม่แผนกสุขภาพอนามัย
แผนที่เดินทาง
จดหมายข่าว ฉบับปี 2550
5 / 2550
>>ณค่าและความหมายของชีวิต ในมุมมองที่หลากหลายควาเชื่อ
>> ผู้สูงอายุคาทอลิกร่วมกันวางแผนงานปี 2551 "'งานผู้สูงอายุโดยผู้สูงอายุเพื่อผู้สูงอายุ"
>> การสนับสนุนหน่วยงานคาทอลิกที่ดูแลเด็กกำพร้าที่ติดเชื้อเอชไอวี
>> มิสซังสุราษฏร์ธานีจัดวันรวมพลคนสูงอายุ
"เอดส์ : ศาสนาและพันธกิจ"
ทุกวันที่ 1 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันเอดส์สากล" โดยแต่ละประเทศจะมีกิจกรรมเป็นพิเศษเพื่อให้ประชาชนเกิดมีความตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเอดส์ แม้ว่าภาครัฐและภาคเอกชนจะมีการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ แต่ต้องยอมรับว่าสถานการณ์โรคเอดส์ทั่วโลกก็ไม่ได้ลดลงมากเท่ากับเม็ดเงินที่ลงไป ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราการติดเชื้อฯ ยังคงมีอยู่และรุนแรงก็คือ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสมและไม่ปลอดภัย อีกทั้งสังคมโดยรวมเองยังไม่มีความรู้ที่ถูกต้องเรื่องโรคเอดส์
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ เดิมเคยพบว่าเป็นกลุ่มวัยแรงงาน แต่ขณะนี้พบว่ากลุ่มเยาวชนมีอัตราการติดเชื้อฯ สูงขึ้นเรื่อยๆ โอกาสการติดเชื้อฯ เกิดขึ้นได้กับผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งไม่อาจกล่าวได้ว่ากลุ่มไหนเสี่ยงต่อการติดเชื้อฯ มากไปกว่ากัน แต่ทุกกลุ่มมีโอกาสติดเชื้อฯ เท่ากัน นอกนั้นยังมีปัญหาเรื่องทัศนคติต่อผู้ติดเชื้อฯ เป็นปัญหาใหญ่ที่ยังไม่อาจแก้ไขให้หมดไปได้
นับจากภาพการนำเสนอเรื่องโรคเอดส์ของสื่อสาธารณะต่างๆ ต่อสังคมในอดีตที่ปรากฏคือ "เอดส์เป็นแล้วตาย" มีภาพความน่ากลัว การถูกทอดทิ้ง ทำให้ผู้คนเกิดความตระหนก และเกิดการรังเกียจผู้ติดเชื้อฯ และครอบครัวตามมาอย่างคาดไม่ถึง ซึ่งต้องใช้เวลาแก้ไขอีกยาวนานพอๆ กับการค้นหายารักษาโรคเอดส์
สถานการณ์โรคเอดส์ทั่วโลก
กว่า 20 ปี ที่ทั่วโลกมีความพยายามร่วมมือกันหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีและลดการเสียชีวิตจากโรคเอดส์มาโดยตลอดแต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ จากการรายงานล่าสุดของ สำนักงานโครงการป้องกันปัญหาเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS/ พ.ศ.2548) รายงานว่า การติดเชื้อฯ ในบางประเทศมีอัตราลดลง แต่ภาพรวมของอัตราการติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ยังคงเพิ่มขึ้นในทุกๆ พื้นที่ทั่วโลก โดยในปี พ.ศ.2548 พบว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่เพิ่มขึ้น 4.9 ล้านคน โดยคาดว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลกประมาณ 36.7-45.3 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ประมาณ 3.1 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นเด็กที่เสียชีวิตจากโรคเอดส์ไปถึง 570,000 คน โดยเฉพาะประเทศในทวีปอัฟริกากลาง เอเชียตะวันออก เอเชียกลางพบว่ามีผู้ติดเชื้อฯ เพิ่มขึ้นและกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ สตรีและเด็ก ย่อมหมายถึงผลกระทบที่มีคุณภาพของประชากรในอีก 20 ปีข้างหน้า (แหล่งข้อมูล : www.aidsthai.org เดือนมีนาคม 2550)
สถานการณ์โรคเอดส์ในประเทศไทย
สำหรับสถานการณ์โรคเอดส์ในประเทศไทย จากรายงานของ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า จากข้อมูลของสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2527 ถึง 31 ตุลาคม 2550 พบผู้ป่วยเอดส์ รวมทั้งสิ้น 322,296 ราย โดยเสียชีวิตแล้วจำนวน 89,969 ราย
ตามรายงานพบว่ากลุ่มอายุที่พบการติดเชื้อฯ มากที่สุดคือ กลุ่มวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 20-39 ปี แม้ว่าแนวโน้มของการเจ็บป่วยและตายด้วยโรคเอดส์ลดลงกว่าอดีตเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากการพยายามรณรงค์ของทุกภาคส่วนให้ผู้ติดเชื้อฯ ผู้ป่วยเอดส์ได้เข้าถึงการรักษาและยาต้านไวรัสมากขึ้น แต่กระนั้นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นต้น โรคเอดส์ ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จากข้อมูลกลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 15 - 29 ปี มีการติดเชื้อฯ ถึง 101,724 รายโดยคิดเป็นร้อยละ 34 ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งผู้ป่วยเอดส์ส่วนใหญ่ล้วนอยู่ในวัยเจริญพันธุ์และวัยแรงงาน

ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมว่าเยาวชนไทยกว่าร้อยละ 40 มีเพศสัมพันธ์แบบฉาบฉวย คือ เยาวชนชายมีเพศสัมพันธ์กับหญิงที่เป็นเพียงแค่คนรู้จัก ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ที่เร็วขึ้น และขาดความรับผิดชอบทางเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น ฯลฯ ปัจจัยที่แวดล้อมต่างๆ ที่ส่งผลให้เยาวชนมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ครอบครัวขาดความอบอุ่น เด็กและเยาวชนจึงใช้ชีวิตอยู่กับกลุ่มเพื่อนตามห้างสรรพสินค้า กับเพื่อนทางอินเตอร์เน็ต ฯลฯ ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในเยาวชนถือเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องรีบแก้ไขเพราะเยาวชนเหล่านี้ก็คือ พลเมืองรุ่นต่อไปของประเทศ
"เอดส์ หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา"
ปี ค.ศ.2007 การณรงค์ในระดับโลก ยังคงใช้คำขวัญการรณรงค์ว่า " STOP AIDS. Keep the Promise" โดยพยายามสร้างความสำนึกว่าการต่อต้านเอดส์เป็นภารกิจของทุกคน และร่วมกันลดความรังเกียจผู้ติดเชื้อฯ ดูแลและเคารพผู้ดำรงชีวิตอยู่กับเอดส์
พระศาสนจักรกับการทำงานด้านเอดส์
บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานของพระศาสนจักรที่ทำงานด้านเอดส์ แม้ว่าบทบาทหลักจะถูกกำหนดขึ้นเพื่อความชัดเจนในการทำงาน แต่ในทางปฏิบัติทุกหน่วยงานล้วนทำงานครอบคลุมทุกมิติในชีวิต โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ติดเชื้อฯ และผู้ป่วยเอดส์ให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
ดังนั้นที่ผ่านมาไม่เพียงนำเสนอสถานการณ์โรคเอดส์เพื่อบอกข้อเท็จจริงให้พระศาสนจักรรับทราบ บอกให้สังคมรู้ว่า "เอดส์" เป็นเรื่องใกล้ตัว ที่ต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังไม่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยและกับใครก็ได้ โดยมีคำสั่งสอนทางศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
หน่วยงานคาทอลิกที่ทำงานด้านการรณรงค์ป้องกัน โดยออกไปให้ความรู้กับชุมชน สถานศึกษา สถานประกอบการต่างๆ ได้แก่ บ้านพักใจกรุงเทพฯ บ้านพักใจอุดรธานี บ้านพักใจหนองคาย บ้านพักใจเลย โครงการพระจิตองค์บรรเทา เชียงราย บ้านเมตตาธรรม พะเยา ชมรมอุ่นไอรัก เชียงราย โครงการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ กาฬสินธุ์ โครงการอภิบาลผู้ติดเชื้อเอชไอวี และครอบครัว เลย ศูนย์มารีสงเคราะห์ ชัยภูมิ ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล ภูเก็ต ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล สงขลา
นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่ทำงานป้องกันโดยจัดการศึกษาอบรมอย่างเป็นระบบแก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นสตรีและเด็ก เช่น ศูนย์ธารชีวิต
ภารกิจด้านการสงเคราะห์กึ่งพัฒนา โดยจัดให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ติดเชื้อฯ และผู้ป่วยระยะสุดท้าย ส่วนผู้ติดเชื้อฯ ที่อาการดีขึ้นก็เตรียมพร้อมที่จะพัฒนาความพร้อมทางร่างกาย และทักษะอื่นๆ เพื่อเตรียมตัวกลับสู่บ้านและชุมชนต่อไป ได้แก่ บ้านกลารา สวนสันติธรรม ลำไทร มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล (เมอร์ซี่เซนตอร์) โครงการมารดาและเด็ก บ้านสุขฤทัย ที่ทำงานกับมารดาที่มีครรภ์ไม่พึงประสงค์เพื่อป้องกันการทำแท้ง ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมบ้านเซเเวียร์ บ้านแห่งความหวัง น่าน กลุ่มสร้างเพื่อนสร้างพลังรักกางเชน สกลนคร ศูนย์นิรมล ขอนแก่น ที่สนับสนุนกิจกรรมการรวมกลุ่มของผู้ติดเชื้อฯ ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้
ภารกิจด้านการพัฒนา คือ สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อเด็กกำพร้าและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ และจัดให้เด็กฯ ได้รับการศึกษา คำปรึกษา การดูแลสุขภาพที่เหมาะสมที่สุด การปกป้องจากการถูกทารุณกรรม และเข้าถึงบริการทางสังคมในอนาคต และสร้างโอกาสทางอาชีพแก่ผู้ติดเชื้อและครอบครัว เพื่อให้บุคคลเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ได้แก่ หน่วยงานคาทอลิกทำงานด้านการพัฒนา เป็นต้น คามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ระยอง บ้านลอเรนโซ บ้านมิตราทร เชียงใหม่ บ้านนาบุญ สกลนคร โครงการบ้านนิจจานุเคราะห์ หนองบัวลำภู สถานสงเคราะห์เด็ก บ้านคุณแม่เทเรซา หนองบัวลำภู โครงการเพื่อนชาวบ้าน หนองคาย บ้านซาร์นิลลี่ หนองคาย มูลนิธิสุธาสินีน้อยอินทร์ เพื่อเด็กและเยาวชน ยโสธร
บรรดาหน่วยงานคาทอลิกเหล่านี้ยังยินดีต้อนรับ บุคคล หน่วยงานต่างๆ ที่ประสงค์มาเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานด้านเอดส์ เพื่อให้การทำงานด้านเอดส์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เพียงวิกฤติทางคุณธรรม จริยธรรมที่ส่งผลให้อัตราการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ไม่ลดลงไปตามที่โลกตั้งเป้าไว้ แต่ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายคือผู้ที่ติดเชื้อฯ และผู้ที่ได้รับผลกระทบ เดิมมีสถานะความเป็นอยู่ทางสังคมที่ด้อยอยู่แล้วกลับต้องมีสภาพที่แย่ลงไปอีก
พระศาสนจักรเองตระหนักถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นนี้ และเร่งหาแนวทางเพื่อรับมือกับปัญหาเอดส์ที่รุนแรงอยู่ แม้จะไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานเท่าใดโรคเอดส์จึงจะหมดไปจากสังคมไทย แต่ในวันนี้หน่วยงานพระสาสนจักรมีความเชื่อว่า
"เอดส์ สามารถหยุดได้" ขอเพียงทุกคนร่วมใจกันรักษาสัญญาพระบัญญัติกันอย่างจริงจัง.
Back
Information
สื่อใหม่แผนกสุขภาพ 2012
แผนงานเวชบุคคลคาทอลิก 2013
ประเมินผลงานเวชบุคคล 2012  
แผนงานผู้สูงอายุ 2013 ปี 25 5
ประเมินผลงานผู้สูงอายุ 2012
VCD งานด้านเอดส์
VCD งานผู้สูงอายุ
ทำเนียบหน่วยงานด้านเอดส์
ทำเนียบชมรมผู้สูงอายุคาทอลิก
ทำเนียบชมรมเวชบุคคลคาทอลิก
ทำเนียบหน่วยงานสุขภาพ
SuratThani Diocese Ratchaburi Diocese Bangkok Archdiocese Chanthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubon Ratchathani Diocese Tharae Archdiocese Udon Thani Diocese NakhonSawan Diocese Chieng Mai Diocese Chieng Mai Diocese Nakhonsawan Diocese Ratchaburi Diocese Suratthani Diocese Chthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubonratchathani Diocese Tharae Arcdiocese Udonthani Diocese แผนที่
เครือข่ายผู้สูงอายุ
เครือข่ายเวชบุคคล
เครือข่ายงานเอดส์
Chieng Mai Diocese NakhonSawan Diocese Udon Thani Diocese Tharae Archdiocese Ubon Ratchathani Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Chanthaburi Diocese Bangkok Archdiocese Ratchaburi Diocese SuratThani Diocese



© CHC
สำนักเลขาธิการ :
122/11 ถนนนนทรี 14 เขตยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120
Tel. / Fax. 66 2 681 5857 E-mail : chc@cbct.net

Update : Dec 2012