ENGLISH
ความเป็นมา โครงสร้าง
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
กิจกรรม
สารวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 25555
สารวันเอดส์โลก
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 76
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 8
ชมรมเวชบุคคลคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะอนุกรรมการฯ เพื่อผู้สูงอายุ
คณะอนุกรรมการฯ งานเอดส์
จดหมายข่าว
โครงการใหม่แผนกสุขภาพอนามัย
แผนที่เดินทาง
สาส์นพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16
โอกาสวันผู้ป่วยสากลครั้งที่ 20
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2012
(แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาอิตาเลียน
โดยบาทหลวงสิรนนท์ สรรเพ็ชร์ คณะนักบวคามิลเลียน)

"จงลุกขึ้น ไปเถิด ความเชื่อของท่านทำให้ท่านรอดพ้นแล้ว"
(ลก 17: 19)

พี่น้องที่รัก
ในโอกาสวันผู้ป่วยสากลซึ่งเราจะฉลองกันในวันที่11กุมภาพันธ์ 2012 วันระลึกถึงแม่พระแห่งเมืองลูร์ดที่กำลังมาถึง พ่อตั้งใจรื้อฟื้นความปรารถนาที่จะอยู่ใกล้ชิด ฝ่ายจิตกับผู้ป่วยทุกคนทั้งที่กำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลหรือที่ครอบครัวกำลังดูแลอยู่ที่บ้านโดยให้แต่ละท่านตระหนักรับรู้ถึงความพร้อมที่จะช่วยเหลือและความรักที่พระศาสนจักรทั้งมวลมีต่อท่านด้วยท่าทีแห่งความรักเมตตาต้อนรับทุกชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ที่อ่อนแอและผู้เจ็บป่วย คริสตชนคนหนึ่งเมื่ออยู่ในภาวะเช่นนั้นก็ได้แสดงออกถึงลักษณะเด่นสำคัญของการเป็นประจักษ์พยานแห่งพระวรสารด้วยตนเองตามแบบฉบับพระคริสตเจ้าผู้ทรงรับเอาความทุกข์ทรมานของมนุษย์ทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิตทั้งนี้เพื่อเยียวยารักษาเขา
1. ปีนี้เราเตรียมการกันอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดเพื่อร่วมฉลองวันผู้ป่วยสากลอย่างสง่าและเป็นทางการในครั้งต่อไป เราจะฉลองกันอย่างเป็นทางการและอย่างสง่าอีกครั้งที่เยอรมันในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2013โดยหัวข้อมุ่งประเด็นไปที่ภาพของการเป็นชาวสะมาเรียผู้ใจดีที่ปรากฏในพระวรสาร (เทียบ ลก 10: 29-37) ซึ่ง ณ ที่นี้พ่อเองอยากจะเน้นไปที่ "ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเยียวยารักษา" อันได้แก่ ศีลอภัยบาป ศีลแห่งการคืนดีและศีลเจิมผู้ป่วยซึ่งศีลศักดิ์สิทธิเหล่านี้มีธรรมชาติที่สมบูรณ์ครบครันในศีลมหาสนิท
เมื่อครั้งที่พระเยซูทรงรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อนสิบคนตามที่บันทึกไว้ในพระวรสารของนักบุญลูกา(เทียบลก17:11-19)โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระวาจาที่พระองค์ตรัสกับคนหนึ่งในบรรดาผู้ป่วยนั้นว่า "จงลุกขึ้นไปเถิดความเชื่อของท่านทำให้ท่านรอดพ้นแล้ว"(ข้อ19) พระวาจาตอนนี้ ช่วยให้เราตระหนักถึงความสำคัญของความเชื่อซึ่งเกิดขึ้นกับผู้กำลังตกในสภาพทุกข์ทรมานและเจ็บป่วยทำให้เข้าใกล้ชิดกับพระเยซูคริสต์
ในการพบปะกับพระองค์ พวกเขาเข้าถึงประสบการณ์อันแท้จริงซึ่งช่วยให้ผู้ที่เชื่อไม่อยู่อย่างโดดเดี่ยว! อันที่จริงองค์พระผู้เป็นเจ้าโดยทางพระบุตรของพระองค์ไม่ทอดทิ้งใครแม้สักคนเดียวให้ตกอยู่ในความกลัดกลุ้มและความทุกข์ตามลำพังแต่ตรงกันข้ามทรงอยู่ใกล้ชิด และทรงช่วยเราเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้ และทรงต้องการเยียวยารักษาเรา ณ ก้นบึ้งแห่งหัวใจเรา (เทียบ มก 2: 1-12)
ความเชื่อของผู้ป่วยโรคเรื้อนคนเดียวเท่านั้นซึ่งมองดูได้ว่าเขาได้รับการเยียวยารักษาแล้วโลดเต้นด้วยความยินดี รีบกลับมาหาพระเยซูทันทีเพื่อขอบคุณซึ่งไม่เหมือนอีกเก้าคนไม่ได้กลับมาขอบคุณ ทำให้เราเข้าใจได้ว่าสุขภาพที่ได้รับกลับคืนมาอีกครั้งนั้นเป็นเครื่องหมายถึงบางอย่างที่มีคุณค่าความหมายมากกว่าการเยียวยารักษาทางกายให้หายนั่นคือเป็นเครื่องหมายแห่งความรอดที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานแก่เราโดยทางพระคริสต์และเป็นไปตามพระวาจาของพระเยซูเจ้าที่ว่าความเชื่อของท่านทำให้ท่านรอดพ้นแล้ว ผู้อยู่ในสภาพที่ทุกข์ทรมานและเจ็บป่วยไม่ผิดหวังอย่างแน่นอนเมื่อเข้ามาวิงวอนขอต่อพระองค์และเพราะความรักของพระเจ้าจะไม่ทรงทอดทิ้งพวกเขาพร้อมทั้งสิ่งนี้เองเป็นการแสดงความรักของพระศาสนจักรที่ทำให้การภารกิจแห่งการไถ่กู้ของพระองค์เป็นไปต่อเนื่องไม่ขาดสาย การเยียวยารักษาทางกายถือเป็นการแสดงออกภายนอกสื่อถึงความรอดพ้นภายในที่ลึกที่สุด และเป็นการเผยแสดงความสำคัญที่ว่า มนุษย์ทั้งครบทั้งวิญญาณและกายมีไว้เพื่อพระเจ้า
ศีลศักดิ์สิทธิ์แต่ละประการตามความเป็นจริงแล้วทำให้ความใกล้ชิดของพระเจ้าเองแสดงออกเป็นจริงขึ้นมาในการที่พระองค์มอบตนเองเป็นของประทานด้วยพระทัยอิสระจนถึงที่สุดและสัมผัสเราได้โดยผ่านทางสิ่งที่มองเห็นได้...ซึ่งพระองค์ทรงนำมาใช้เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเหล่านี้กลับกลายเป็นเครื่องมือพบปะกันระหว่างเรากับพระองค์"(บทเทศน์ในมิสซาบูชาขอบพระคุณเสกน้ำมัน- 1 เมษายน 2010) "การรวมเป็นหนึ่งเดียวระหว่างสิ่งสร้างกับการไถ่กู้ถูกทำให้ปรากฏขึ้นมา ศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นการแสดงออกของลักษณะทางกายภาพแห่งความเชื่อของเราซึ่งโอบกอดไว้ในความเป็นบุคคลทั้งครบนั่นคือโอบกอดเราทั้งกายและวิญญาณนั่นเอง"(บทเทศน์ในมิสซาบูชาขอบพระคุณเสกน้ำมัน- 21 เมษายน 2011)
แน่นอนภารกิจหลักของพระศาสนจักรคือการประกาศพระอาณาจักรพระเจ้า"แต่การประกาศนี้จะเด่นชัดได้ต้องอยู่ในแวดวงการเยียวยารักษา "ไปปลอบโยนคนที่มีใจชอกช้ำ' (อสย 61:1)" ตามที่พระเยซูเจ้าได้มอบหมายภารกิจนี้แก่บรรดาอัครสาวก (เทียบ ลก 9:1-2, มธ 10:1,5-14, มก 6:7-13) การเชื่อมโยงกันระหว่างสุขภาพทางกายและการฟื้นฟูตนเองจากแผลหลังจากที่ต้องทรมานด้านวิญญาณจึงช่วยให้เราเข้าใจถึง "ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเยียวยารักษา" ได้ดีมากกว่า
2. ศีลอภัยบาปได้เคยเป็นศูนย์กลางในการรำพึงไตร่ตรองของผู้อภิบาลของพระศาสนจักรเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากสำหรับเส้นทางชีวิตคริสตชน นั่นคือ "พลังทั้งมวลของศีลอภัยบาปนั้นอยู่ที่การทำให้เราคืนสู่พระหรรษทานของพระเจ้า และรวมเราไว้กับพระองค์ด้วยมิตรภาพที่ใกล้ชิด" (คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1468) พระศาสนจักรซึ่งกำลังประกาศสารของพระเยซูเจ้าในเรื่องการให้อภัยและการกลับใจไม่เคยหยุดยั้งที่จะเชื้อเชิญมนุษยชาติทั้งมวลให้กลับใจและเชื่อในพระวรสาร พระศาสนจักรทำตามเสียงเรียกร้องของอัครสาวกเปาโลที่ว่า"ดังนั้นเราจึงเป็นทูตแทนพระคริสตเจ้า ประหนึ่งว่าพระเจ้าทรงใช้เราให้เชิญชวนท่านทั้งหลาย เราจึงขอร้องแทนพระคริสตเจ้าว่าจงยอมคืนดีกับพระเจ้าเถิด (2 คร 5:20)" พระเยซูเจ้าในระหว่างที่พระชนม์อยู่ในโลกนี้ได้ทรงประกาศและทำให้พระเมตตากรุณาของพระบิดาปรากฏออกมา พระองค์มิใช่มาเพื่อลงโทษหรือประณามแต่เพื่อประทานการอภัยและช่วยให้รอดพ้น เพื่อประทานความหวังในท่ามกลางความมืดมิดอันเกิดจากความทุกข์ทรมานและความบาป และเพื่อประทานชีวิตนิรันดร ดังนั้นโดยทางศีลอภัยบาปนั่น "ในโอสถแห่งการยอมรับผิดนี้" ประสบการณ์กับบาปจึงไม่ได้บั่นทอนชีวิตให้ตกต่ำสิ้นหวังแต่ทำให้พบกับความรักซึ่งให้อภัยและเกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิต (เทียบ พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 สมณสาสน์ เรื่องการกลับใช้และใช้โทษบาป-Reconciliatio et Paenitentia 31)
องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตา (อฟ 2:4) เหมือนดังบิดาในคำเปรียบที่บันทึกในพระวรสาร (เทียบ ลก 15: 11-32) ไม่ได้ทรงปิดกั้นหัวใจของพระองค์กับลูกๆ เลย แต่ทรงรอคอย และแสวงหาพวกเขา มาพบกับพวกเขาในทุกๆที่ที่มีการขัดแย้ง ทุกที่ที่ไม่ยอมรับกัน ทุกที่ที่จำจองพวกเขาไว้ในความโดดเดี่ยวและการถูกกีดกันแบ่งแยก อีกทั้งพระองค์ทรงเรียกพวกเขาให้มารวมกันรอบๆโต๊ะกับพระองค์ร่วมกันชื่นชมยินดีกับการฉลองแห่งการให้อภัยและการกลับคืนดีในช่วงเวลาความทุกข์ทรมานด้วยสภาพของคนหนึ่งอาจจะถูกประจญให้สิ้นหวังและท้อแท้นี้อาจจะถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นช่วงเวลาแห่งพระหรรษทานจนสามารถกลับคืนสู่ตัวตนอีกครั้งเหมือนดังลูกล้างผลาญในพระวรสารที่เขาได้คิดใหม่เกี่ยวกับชีวิตตนเอง เขาสำนึกในความผิดพลาดและความล้มเหลว เขาได้สัมผัสความรู้สึกถึงอ้อมกอดของพระบิดาและดำเนินชีวิตในหนทางที่มุ่งสู่บ้านของพระบิดา ด้วยความรักสุดเปรียบปรานนี้เองพระองค์ทรงเฝ้าดูแลชีวิตของพวกเราในทุกที่ทุกเวลาและรอคอยเพื่อทรงประทานพระพรแห่งการกลับคืนดีและความชื่นชมยินดีอย่างเต็มเปี่ยมแก่ลูกๆ ทุกคนของพระองค์ที่กลับเข้ามาหาพระองค์อีกครั้ง
 
3.จากคำบันทึกในพระวรสาร ปรากฏอย่างชัดเจนที่ว่า พระเยซูเจ้าทรงให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อผู้ป่วยอยู่เสมอ พระองค์ไม่ได้ส่งสาวกของพระองค์ไปเพื่อดูแลเอาใจใส่ความเจ็บป่วยของพวกเขาเท่านั้น(มธ:10,8 ลก:9,2;10,9) แต่ทรงตั้งศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษสำหรับพวกเขาด้วยนั่นคือศีลเจิมผู้ป่วย จดหมายของนักบุญยากอบยืนยันความเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์นี้แล้วในกลุ่มคริสตชนกลุ่มแรก(เทียบ5:14.16)นั่นคือโดยอาศัยการเจิมผู้ป่วยและการวอนงขอของผู้อาวุโสพระศาสนจักรทั้งมวลมอบผู้ป่วยไว้กับพระเยซูเจ้าที่ทรกำลังทุกข์ทรมานและที่กลับคืนพระชนมชีพแล้ว เพื่อขอพระองค์ทรงบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยและช่วยให้รอดพ้น ยิ่งกว่านั้นพระศาสนจักรเชื้อเชิญส่งเสริมพวกเขาให้ร่วมเป็นหนึ่งเดียวเจริญชีวิตฝ่ายจิตกับพระมหาทรมานและการสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์เพื่อ ด้วยวิธีการนี้ก็เป็นการเสริมสร้างเพิ่มพูนความดีแก่มวลประชากรขององค์พระผู้เป็นเจ้า
ศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้นำเรารำพึงถึงธรรมล้ำลึกสองประการที่เกิดขึ้นที่ภูเขามะกอกเทศ สถานที่ซึ่งพระเยซูเจ้าเองได้เศร้าสลดพระทัยที่ต้องเผชิญกับหนทางที่พระบิดาเจ้าทรงมอบให้กับพระองค์นั่นคือหนทางทางแห่งการรับทนทุกข์ทรมาน. สุดยอดแห่งความรักสูงสุดโดยที่พระองค์ทรงยอมรับตามพระประสงค์ของพระบิดาเจ้าในช่วงแห่งการทดลองความยากลำบากแสนเข็ญ เช่นนี้ ขณะนั้นพระองค์ทรงเป็นคนกลาง"ที่ทรงรับเอาความทุกข์ทรมานและนำเอาการทนทุกข์ทรมานของโลกไว้ในพระองค์โดยพระองค์เอง เป็นการแปรเปลี่ยนความทุกข์ทรมานนั้นให้เป็นเสียงร้องไปถึงองค์พระผู้เป็นเจ้าและนำเอาความทุกข์ทรมานนี้ไปเฉพาะพระเนตรและมอบในพระหัตถ์ของพระองค์เช่นนี้แท้จริงก็เป็นการนำเอาความทุกข์ทรมานเข้าไปอยู่ในช่วงเวลาของการไถ่กู้นั่นเอง"(เล็กชีโอ ดีวีนา "การพบปะกับพระสงฆ์ที่กรุงโรมวันที่18กุมภาพันธ์2010) แต่ "สวนมะกอกเทศนี้ยังเป็นสถานที่ที่พระองค์เสด็จขึ้นไปหาพระบิดาด้วย ดังนั้นจึงเป็นสถานที่แห่งการไถ่กู้...ธรรมล้ำลึกสองประการนี้ที่เกิดขึ้นที่ภูเขามะกอกเทศยังคง"บังเกิดผลเสมอ"ในน้ำมันที่พระศาสนจักรเจิมด้วยศีลศักดิ์สิทธิ์..นั่นหมายถึงความดีขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่เข้ามาสัมผัสเรา" (บทเทศน์ในมิสซาบูชาขอบพระคุณเสกน้ำมัน-1เมษายน2010) ในการเจิมผู้ป่วยน้ำมันที่ใช้เป็นสสารของศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ถูกใช้กับเราเพื่อที่จะเป็นไปดังที่ว่า "เป็นโอสถรักษาขององค์พระผู้เป็นเจ้า...ซึ่งตอนนี้ทำให้เรามั่นใจในความดีของพระองค์ด้วยการมอบพละกำลังและความบรรเทาใจให้แก่เราในขณะเดียวกันไปเลยโพ้นคุณค่าเหนือความเจ็บป่วยและช่วยให้เรานึกถึงการเยียวยารักษาสุดท้าย คือ การกลับคืนชีพ (เทียบ ยก 5: 14")
ศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้สมควรได้รับการพิจารณาไตร่ตรองให้มากขึ้นในทุกวันนี้ทั้งในแง่ของเทววิทยาและการอภิบาลผู้ป่วย บทภาวนาอันทรงคุณค่าที่อยู่ในพิธีกรรมนี้สามารถประยุกต์ได้ในสถานการณ์ความเจ็บป่วยต่างๆและคงไม่ใช่เพียงแต่ในการจบสิ้นชีวิตเท่านั้น(คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1514) การเจิมผู้ป่วยไม่ควรถือว่าเป็น "ศีลน้อย" เมื่อเปรียบเทียบกับศีลประการอื่น ความสนใจและการอภิบาลผู้ป่วยในด้านหนึ่งเป็นเครื่องหมายถึงความเอ็นดูขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่มีต่อผู้ที่กำลังทุกข์ทรมานในอีกด้านหนึ่งบังเกิดผลดีเจริญชีวิตฝ่ายจิตให้กับพระสงฆ์และชุมชนคริสตชนด้วยความสำนึกที่ว่าสิ่งซึ่งได้กระทำกับพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุด ได้กระทำสิ่งนั้นต่อพระเยซูเจ้าเอง (เทียบ มธ 25: 40)
 
4.เมื่อพูดถึง"ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเยียวยารักษา"นักบุญออกัสตินยืนยันว่า:"องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงรักษาความเจ็บไข้ทั้งมวลของท่าน ดังนั้นจงอย่ากลัวไปเลยความเจ็บไข้ทั้งมวลของท่านจะได้รับการเยียวยารักษา...ท่านต้องปล่อยให้พระองค์เข้ามารักษาท่านและท่านต้องไม่ปฏิเสธพระหัตถ์ของพระองค์"(คำอธิบายบทสดุดี 102 -ExpositiononPsalm 102,5;PL36,1319,1320) เหล่านี้เป็นเครื่องมืออันประเสริฐที่นำพระหรรษทานขององค์พระผู้เป็นเจ้ามาช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อหลอมพวกเขาให้เข้ากับธรรมล้ำลึกแห่งความตายและการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสต์อย่างเต็มเปี่ยมมากยิ่งขึ้น พร้อมกับศีลศักดิ์สิทธิ์สองประการนี้พ่ออยากจะเน้นไปที่ความสำคัญของศีลมหาสนิท การรับศีลมหาสนิทในช่วงเวลาแห่งความเจ็บป่วยเป็นหนทางเดียวที่จะเสริมสร้างอย่างพิเศษให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้โดยรวมบุคคลที่รับพระกายและพระโลหิตของพระคริสต์เข้ามามีส่วนในความเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ที่ทรงมอบตนเองแด่พระบิดาเจ้าเพื่อความรอดพ้นของทุกคน ชุมชนพระศาสนจักรทั้งมวลและชุมชนวัดเป็นพิเศษควรเอาใจใส่และรับประกันได้ถึงความเป็นไปได้ที่จะให้ผู้ที่ไม่อาจไปร่วมพิธีที่วัดได้ด้วยเหตุผลทางสุขภาพและความชราให้สามารถรับรับศีลมหาสนิทบ่อยๆ เช่นนี้พี่น้องชายหญิงที่เจ็บป่วยและชราภาพเหล่านี้สามารถเสริมสร้างพลังเข้มแข็งในสัมพันธภาพกับพระคริสต์ผู้ทรงถูกตรึงและกลับคืนพระชนมชีพด้วยการมีส่วนร่วมในพันธกิจของพระศาสนจักรด้วยชีวิตของพวกเขาที่ถูกยกสูงส่งขึ้นเพื่อความรักของพระคริสต์ จากจุดนี้เองสำคัญอยู่ตรงที่ว่าบรรดาพระสงฆ์ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อย่างดีในโรงพยาบาลในสถานพยาบาลและในบ้านผู้ป่วย รู้สึกได้ถึงความเป็น "'ศาสนบริกรเพื่อผู้ป่วย'อย่างแท้จริง นั่นคือ เป็นเครื่องหมายและเครื่องมือแห่งพระเมตตาของพระคริสต์ซึ่งทรงเข้ามาอยู่กับทุกๆคนที่ถูกตราตรึงไว้กับความทุกข์ทรมาน (สารของพระสันตะปาปาในโอกาสวันผู้ป่วยสากลครั้งที่ 18 วันที่ 22 พฤศจิกายน2009) การที่ผู้ป่วยถูกหลอมให้เข้ากับธรรมล้ำลึกปัสกาของพระคริสต์ซึ่งเกิดเป็นจริงได้ก็ต้องปฏิบัติการร่วมสนิทสัมพันธ์ด้านชีวิตจิตตชนั้นจะได้รับความหมายพิเศษเมื่อศีลมหาสนิทได้รับและโปรดให้ในฐานะเป็นศีลเสบียง ในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิต พระวาจาของพระเจ้า ที่ว่า : "ผู้ที่กินเนื้อของเรา และดื่มโลหิตของเราก็มีชีวิตนิรันดรเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย" จะกลับมีความหมายมากกว่าที่คิด (ยน 6:54) ศีลมหาสนิทโดยเฉพาะในฐานะเป็นศีลเสบียงนี้ตามความคิดของนักบุญอิกญาซีโอแห่งอันตีโอกหมายถึง "ยาอายุวัฒนะ ยาต้านพิษความตาย" (จดหมายถึงเอเฟเซียน 20:PG5,661) ศีลเบิกทางจากความตายสู่ชีวิต จากโลกนี้ไปสู่พระบิดาผู้ทรงรอคอยทุกคนในกรุงเยรูซาเล็มสวรรค์5.หัวข้อสารฉบับนี้ในโอกาสวันผู้ป่วยสากลครั้งที่20ที่ว่า"จงลุกขึ้นไปเถิดความเชื่อของท่านทำให้ท่านรอดพ้นแล้ว"ให้เรามองไปข้างหน้าด้วยมองไปยัง"ปีแห่งความเชื่อ"ที่จะเริ่มในเดือนตุลาคม2012นับเป็นโอกาสดีมีคุณค่าที่จะค้นพบพลังและความงดงามแห่งความเชื่ออีกครั้งหนึ่งและเป็นโอกาสที่จะพิจารณาไตร่ตรองเนื้อหาแห่งความเชื่อด้วย.
การเป็นประจักษ์พยานยืนยันถึงความเชื่อในชีวิตประจำวัน (เทียบ สมณสาสน์เรื่องประตูแห่งความเชื่อ -Porta Fidei- วันที่ 11 ตุลาคม 2011) พ่อขอเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยและผู้มีความทุกข์ทรมานเพื่อจะได้ประสบกับสมอที่จะยึดเหนี่ยวความเชื่อของตนเองเอาไว้ อีกทั้งได้รับการหล่อเลี้ยงจากพระวาจาขององค์พระผู้เป็นเจ้า การสวดภาวนาส่วนตัวและอาศัยศีลศักดิ์สิทธิ์ขณะเดียวกันพ่อเองเชิญชวนผู้อภิบาลทั้งหลายทำตนให้พร้อมเสมอยิ่งขึ้นสำหรับการเฉลิมฉลองศีลต่างๆเหล่านี้กับผู้ป่วย ตามแบบฉบับของนายชุมพาบาลที่ดีและในฐานะผู้ดูแลฝูงแกะที่ได้มอบไว้กับผู้อภิบาลให้ดูแล พระสงฆ์ทั้งหลายควรจะชื่นชมยินดีสนใจผู้อ่อนแอที่สุด คนธรรมดาและคนบาปโดยแสดงให้ประจักษ์เห็นถึงพระเมตตากรุณาขององค์พระผู้เป็นเจ้าด้วยพระวาจาที่นำความหวังและความมั่นใจมาสู่พวกเขา (เทียบจดหมายนักบุญออกัสตินจดหมาย95,1:PL33,351,352) สำหรับผู้ที่กำลังปฏิบัติงานในสนามงานสุขภาพอนามัยดังเช่นครอบครัวที่มองเห็นใบหน้าแห่งความทุกข์ทรมานของพระเยซูคริสต์ในญาติพี่น้อง พ่อขอแสดงความขอบคุณอีกครั้งในนามของพ่อและของพระศาสนจักรเพราะว่าในฐานะท่านทั้งหลายที่เป็นผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพและในท่ามกลางความเงียบเหล่านี้ บ่อยๆ อาจจะไม่ได้อ้างถึงพระนามของพระเยซูเจ้า แต่พวกเขาเองก็ได้แสดงให้เห็นถึงพระองค์ท่านในรูปแบบที่เป็นรูปธรรม(เทียบบทเทศน์ในมิสซาบูชาขอบพระคุณเสกน้ำมัน- 21 เมษายน 2011)
เรามอบความวางใจและคำภาวนาของเราแด่พระนางมารีย์พระมารดาแห่งความเมตตากรุณาและพระมารดาความรอดของคนไข้ ขอความเมตตากรุณาเยี่ยงมารดาที่พระนางได้แสดงออกขณะที่ยืนอยู่เคียงข้างพระบุตรที่กำลังสิ้นพระชนม์บนกางเขนทรงอยู่เคียงข้างและเพิ่มพูนความเชื่อตลอดจนความหวังให้แก่ผู้ป่วยและผู้กำลังทุกข์ทรมานทุกคนตลอดเส้นทางแห่งการเยียวยารักษาความบาดเจ็บด้านกายและด้านจิตวิญญาณ
พ่อมั่นใจที่จะระลึกถึงท่านทั้งหลายในคำภาวนาของพ่อและขออำนวยพรมายังแต่ละท่านด้วยการอวยพรที่สืบเนื่องมาจากอัครสาวก
จากวาติกัน
20 พฤศจิกายน 2011 สมโภชพระเยซูเจ้า กษัตริย์แห่งสากลจักรวาล
Benedictus P.P. XVI
พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

(แปลโดยคณะนักบวชคามิลเลียนประเทศไทย)

Information
สื่อใหม่แผนกสุขภาพ 2012
แผนงานเวชบุคคลคาทอลิก 2013
ประเมินผลงานเวชบุคคล 2012  
แผนงานผู้สูงอายุ 2013 ปี 25 5
ประเมินผลงานผู้สูงอายุ 2012
VCD งานด้านเอดส์
VCD งานผู้สูงอายุ
ทำเนียบหน่วยงานด้านเอดส์
ทำเนียบชมรมผู้สูงอายุคาทอลิก
ทำเนียบชมรมเวชบุคคลคาทอลิก
ทำเนียบหน่วยงานสุขภาพ
SuratThani Diocese Ratchaburi Diocese Bangkok Archdiocese Chanthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubon Ratchathani Diocese Tharae Archdiocese Udon Thani Diocese NakhonSawan Diocese Chieng Mai Diocese Chieng Mai Diocese Nakhonsawan Diocese Ratchaburi Diocese Suratthani Diocese Chthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubonratchathani Diocese Tharae Arcdiocese Udonthani Diocese แผนที่
เครือข่ายผู้สูงอายุ
เครือข่ายเวชบุคคล
เครือข่ายงานเอดส์
Chieng Mai Diocese NakhonSawan Diocese Udon Thani Diocese Tharae Archdiocese Ubon Ratchathani Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Chanthaburi Diocese Bangkok Archdiocese Ratchaburi Diocese SuratThani Diocese


 


© CHC
สำนักเลขาธิการ :
122/11 ถนนนนทรี 14 เขตยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120
Tel. / Fax. 66 2 681 5857 E-mail : chc@cbct.net

Update : Dec 2012