ENGLISH
ความเป็นมา โครงสร้าง
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
กิจกรรม
สารวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 25555
สารวันเอดส์โลก
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 76
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 8
ชมรมเวชบุคคลคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะอนุกรรมการฯ เพื่อผู้สูงอายุ
คณะอนุกรรมการฯ งานเอดส์
จดหมายข่าว
โครงการใหม่แผนกสุขภาพอนามัย
แผนที่เดินทาง
สาส์นพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16
โอกาสวันผู้ป่วยสากลครั้งที่ 19
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2011
(แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาอิตาเลียน
โดยบาทหลวงสิรนนท์ สรรเพ็ชร์ คณะนักบวคามิลเลียน)

"รอยแผลของพระองค์ได้รักษาท่านให้หาย" (1 ปต 2:24)

พี่น้องที่รัก
โอกาสระลึกถึงแม่พระแห่งเมืองลูร์ดซึ่งตรงกับวันที่11กุมภาพันธ์ของทุกปี พระศาสนจักรได้ตั้งให้เป็นวันผู้ป่วยสากล ตามความปรารถนาที่พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ผู้ศักดิ์สิทธิ์ทรงตั้งใจไว้ คือ ให้ถือเป็นโอกาสดีที่จะรำพึงเกี่ยวกับธรรมล้ำลึกแห่งความทุกข์ทรมานและเหนืออื่นใดให้เป็นโอกาสที่จะสร้างความรู้สึกไวต่อความต้องการของพี่น้องผู้เจ็บป่วยให้มากยิ่งขึ้นในชุมชนและสังคมของเรา หากสำนึกว่าแต่ละคนเป็นพี่น้องของเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้อ่อนแอ ผู้ทุกข์ทรมานและผู้ต้องการรับการเยียวยารักษา. บุคคลเหล่านี้ต้องเป็นศูนย์รวมแห่งความสนใจใยดีของเรา เพื่อว่าจะต้องไม่มีใครเพียงสักคนเดียวในพวกเขาที่จะถูกลืมหรือถูกทอดทิ้งให้อยู่ชายขอบสังคม อันที่จริงโดยแก่นแท้มาตรวัดในความเป็นมนุษยชาติถูกกำหนดไว้ในสัมพันธภาพกับความทุกข์ทรมานและผู้ทุกข์ทรมาน นี่ควรเกิดเป็นความจริงได้ทั้งสำหรับแต่ละคนและสังคม
สังคมใดที่ไม่ยอมรับผู้กำลังทุกข์ทรมานอีกทั้งปฏิเสธที่จะช่วยเหลือแบ่งปันความทุกข์ทรมานของพวกเขาและไม่รับภาระในแบบที่ว่าร่วมทุกข์ร่วมสุขกันได้นับเป็นสังคมที่ไร้มนุษยธรรมและโหดร้าย(สมณสาสน์ Spe Salvi - รอดพ้นด้วยความหวังข้อ 38) ขอให้การริเริ่มดีๆในโอกาสนี้ซึ่งมีอยู่แล้วในแต่ละสังฆมณฑลพร้อมๆ กับการจัดฉลองอย่างสง่าทางการซึ่งปีนี้จะมีขึ้นที่สักการสถานพระนางมารีอาที่อาลตอตติ้ง (Altotting) ประเทศเยอรมันเป็นแรงกระตุ้นทุกคนให้มีการดูแลเอาใจใส่ผู้ทุกข์ทรมานมากขึ้นและได้ผลยิ่งขึ้น
1) ข้าพเจ้ายังระลึกได้ดีในระหว่างการเยี่ยมเยียนเมืองตูรินอย่างเป็นทางการ ข้าพเจ้าหยุดรำพึง ภาวนา ณ ผ้าตราสังอันศักดิ์สิทธิ์ต่อหน้าภาพพระพักตร์ที่กำลังทนทุกข์ทรมาน ภาพนี้เชื้อเชิญเราให้รำพึงพิจารณาพระองค์เองผู้ทรงยอมรับเอาความทุกข์ทรมานของมนุษย์ในทุกกาลเวลาและทุกแห่งหนรวมทั้งทรงยอมรับเอาความทุกข์ทรมาน ความยากลำบาก และบาปของเราไว้กับพระองค์เองด้วย ผู้มีความเชื่อใจศรัทธาหลายคนในประวัติศาสตร์ได้มาอยู่ตรงหน้าผ้าตราสังที่หุ้มห่อพระกายของผู้ได้ถูกตรึงบนไม้กางเขนนี้ซึ่งทุกอย่างที่ประจักษ์เห็นนั้นตรงกับสิ่งซึ่งพระวรสาส์นบันทึกไว้และถ่ายทอดให้เราเกี่ยวกับเรื่องราวความทุกข์ทรมาน การสิ้นพระชนม์ของพระเยซู เมื่อพินิจพิเคราะห์เรื่องนี้ทำให้เรารำพึงไปถึงข้อความที่นักบุญเปโตรได้บันทึกไว้ว่า "รอยแผลของพระองค์ได้รักษาท่านให้หาย" (1 ปต 2:24) บุตรพระเจ้าทรงรับทนทรมาน สิ้นพระชนม์ และกลับคืนพระชนมชีพ เพราะเหตุนี้ รอยแผลที่พระองค์ได้รับกลับกลายเป็นเครื่องหมายแห่งการไถ่กู้ เครื่องหมายแห่งการอภัยโทษ และเครื่องหมายแห่งการกลับคืนดีกับพระบิดาเจ้าและก็ยังได้กลายเป็นบททดสอบความเชื่อของบรรดาสาวกและของเราด้วย ทุกครั้งที่พระองค์ตรัสถึงความทุกข์ทรมานและการสิ้นพระชนม์ที่พระองค์จะได้รับ อัครสาวกไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับ และอีกทั้งยังต่อต้านอีกด้วย สำหรับอัครสาวกและพวกเราก็เช่นกัน ความทุกข์ทรมานยังคงเป็นนัยที่แฝงด้วยธรรมล้ำลึกยากที่จะยอมรับและนำพา.
สาวกสองท่านที่เอมมาอูสเดินไปด้วยกัน กำลังเศร้าใจเพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่กรุงเยรูซาเล็มในสองสามวันที่ผ่านมา และเมื่อพระผู้ทรงกลับคืนพระชนม์ชีพได้ทรงดำเนินบนเส้นทางร่วมกับพวกเขา เพียงเท่านั้นเองก็ได้ทรงเปิดดวงตาของพวกเขาให้มองเห็นอะไรใหม่ๆ (เทียบ ลก24: 13-31)
อัครสาวกโทมัสเช่นกัน ชี้ให้เห็นและเข้าใจว่า ยากสักปานใดที่จะมาเชื่อเรื่องหนทางมหาทรมานในการไถ่กู้ "ถ้าข้าพเจ้าไม่ได้เห็นรอยตะปูที่พระหัตถ์ และไม่ได้เอานิ้วแยงเข้าไปที่รอยตะปู และไม่ได้เอามือคลำที่ด้านข้างพระวรกายของพระองค์ ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อเป็นอันขาด" (ยน20 :25) แต่เมื่อมายืนต่อพระพักตร์พระองค์ หลังจากที่พระองค์ทรงชี้ให้เห็นรอยแผลแล้ว คำตอบของโทมัสเริ่มเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นการประกาศยืนยันความเชื่อ "องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า และพระเจ้าของข้าพเจ้า" (ยน 20: 28) ตอนแรกดูเหมือนเป็นอุปสรรคขัดขวางยากที่จะผ่านพ้นไปได้เพราะเหตุการณ์ปรากฏออกมาให้เห็นชัดถึงความล้มเหลวของพระเยซู แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นบททดสอบความรักเปี่ยมด้วยชัยชนะในการพบปะกับพระผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ "พระเจ้าพระองค์เท่านั้นผู้ทรงรักเราจนกระทั่งยอมรับด้วยพระองค์เองยอมรับเอาบาดแผลและความเจ็บปวดทรมานและโดยเฉพาะอย่างยิ่งความทุกข์ทรมานของผู้บริสุทธิ์ นี่คือค่าคู่ควรแห่งความเชื่อ" (สาส์น Urbi et Orbi โอกาสปัสกา 2007)
 
2) บรรดาผู้ป่วยและผู้รับทุกข์ทรมานที่รัก แน่นอนโดยอาศัยรอยแผลของพระคริสต์ทำให้พวกเราสามารถมองเห็นความเจ็บไข้ได้ป่วยซึ่งเข้ามาสร้างความลำบากใจให้แก่มนุษยชาติด้วยสายตาแห่งความหวัง. อาศัยการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูไม่ได้หมายความว่าพระองค์จะทรงเอาความทุกข์ทรมานและความชั่วร้ายออกไปจากโลกแต่ได้ทรงชนะความทุกข์ทรมานและความชั่วร้ายอย่างถอนรากถอนโคน. องค์แห่งความรักผู้ทรงมหิธานุภาพทรงเป็นปรปักษ์ต่อต้านความหยิ่งยะโสของจ้าวแห่งความชั่วร้าย พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่าหนทางสู่ความสงบ สันติสุข และความชื่นชมยินดี ก็คือ พระองค์ผู้ทรงเป็นองค์ความรักนั่นเอง "เรารักท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านก็จงรักกันอย่างนั้นเถิด" (ยน 13:34) พระคริสต์ผู้ทรงชนะความตายดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางพวกเรา และเราเองควรกล่าวเช่นเดียวกับท่านนักบุญโทมัสด้วยว่า "องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าและพระเจ้าของข้าพเจ้า" พวกเราติดตามพระอาจารย์ของเรา พร้อมเสมอที่จะยอมเสียสละชีวิตเพื่อพี่น้องของเรา (เทียบ 1 ยน 3:16) และพร้อมที่จะเป็นสาส์นนำความชื่นชมยินดีซึ่งไม่เกรงกลัวต่อความเจ็บปวดทรมาน คือ ความชื่นชมยินดีแห่งการกลับคืนพระชนมชีพ นั่นเอง
นักบุญแบร์นาร์ดยืนยันว่า "พระเจ้าไม่อาจทุกข์ทรมาน แต่สามารถร่วมทุกข์ร่วมสุขได้" พระเจ้า องค์ความจริงและองค์ความรักในสภาพบุคคลทรงต้องการทุกข์ทรมานเพื่อเราและกับเรา นั่นคือ ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อสามารถร่วมทุกข์ร่วมสุขกับมนุษย์ในรูปแบบที่เป็นจริงที่เป็นเลือดเป็นเนื้อ ดังนั้น ในความทุกข์ทรมานทุกประการของมนุษย์ได้เข้าไปรวมในองค์เอกะซึ่งทรงร่วมแบ่งปันความทุกข์ทรมานและความอดทน ในความทุกข์ทรมานทุกประการนั้น พระองค์ทรงประทานความปลอบบรรเทาใจ ความปลอบบรรเทาใจอันมาจากความรักของพระเจ้าที่ต้องการมีส่วนร่วมในความทุกข์ทรมานนี้เป็นการเสริมสร้างดวงดาวรุ่งโรจน์แห่งความหวังผุดขึ้นมา (เทียบ สมณสาส์น Spe Salvi รอดพ้นด้วยความหวัง ข้อ 39)
พี่น้องที่รัก ข้าพเจ้าขอกล่าวซ้ำอีกครั้งในสาส์นฉบับนี้ถึงท่านเพื่อหวังให้ท่านได้กลายเป็นประจักษ์พยานโดยอาศัยความทุกข์ทรมาน ชีวิต และความเชื่อของท่านเอง
 
3) พูดถึงเดือนสิงหาคมหน้า ปี ค.ศ.2011ที่เมืองมาดริด (Madrid) ประเทศสเปนจะมีการจัดชุมนุมเยาวชนโลกในโอกาสวันเยาวชนโลก ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะกล่าวเป็นพิเศษแก่บรรดาเยาวชนโดยเฉพาะเยาวชนที่กำลังเจ็บป่วยอยู่ขณะนี้ บ่อยครั้งที่พระมหาทรมานและกางเขนของพระเยซูทำให้เรากลัวเพราะดูเหมือนว่าเป็นการปฏิเสธชีวิต แท้ที่จริงแล้ว ตรงกันข้ามไม่ใช่เช่นนั้นแน่นอน! กางเขนเป็นการ "ตอบรับ" ของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ นั่นคือ เป็นการแสดงความรักของพระองค์ที่เข้มข้น สูงส่งที่สุด และเป็นแหล่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร ชีวิตพระเจ้าไหลหลั่งมาจากพระหทัยที่ถูกทิ่มแทงนี้เอง พระองค์เท่านั้นสามารถนำพาโลกไปสู่ความเป็นไทจากความชั่วร้าย และทำให้อาณาจักรแห่งความยุติธรรมอาณาจักรแห่งสันติสุข และอาณาจักรแห่งความรักอันเป็นอาณาจักรที่พวกเราปรารถนาอยากได้ (เทียบสาส์นในโอกาสวันชุมนุมเยาวชนโลก2011) บรรดาเยาวชนที่รัก ท่านจงเรียนรู้ที่จะ 'มองเห็น' และ 'พบปะ' กับพระเยซูในศีลมหาสนิทที่ซึ่งพระองค์ทรงประทับอยู่ในรูปแบบที่เป็นจริงเพื่อเราจนกระทั่งไปถึงจุดที่พระองค์เองยอมพระองค์เป็นอาหารหล่อเลี้ยงชีวิต พร้อมทั้งมีจิตสำนึกรู้จักรับใช้ผู้ยากไร้ ผู้เจ็บป่วย พี่น้องที่กำลังทุกข์ทรมานและอยู่ในความยากลำบากต่างๆ ซึ่งกำลังต้องการความช่วยเหลือจากท่าน (เทียบ สาส์นในโอกาสวันชุมนุมเยาวชนโลก 2011, 4) สำหรับเธอ เยาวชนทุกคนทั้งที่กำลังเจ็บป่วยและสุขภาพดี พ่อขอย้ำอีกครั้งในการเชื้อเชิญเธอให้สร้างสะพานเชื่อมความรักและความเป็นปึกแผ่น เพื่อว่าจะไม่มีใครสักคนเดียวที่จะรู้สึกโดดเดี่ยวแต่ให้อยู่ใกล้พระเจ้าและเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของครอบครัวใหญ่ที่เป็นบุตรธิดาพระเจ้า (เทียบ General Audience -สุนทรพจน์แก่ผู้เข้าเฝ้า 15 พฤศจิกายน 2006)
4) จากการรำพึงรอยแผลของพระเยซู เราจ้องมองยังดวงพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระองค์ในที่ซึ่งความรักของพระเจ้าได้แสดงออกเองในรูปแบบสุดยอดที่สุด พระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ก็คือพระคริสต์ผู้ทรงมอบพระองค์เป็นบูชาบนไม้กางเขน ด้านข้างพระวรกายของพระองค์ที่ถูกแทงหลั่งโลหิตและน้ำ (เทียบ ยน 19:34) อัน "เป็นสัญลักษณ์แห่งศีลศักดิ์สิทธิ์ในพระศาสนจักรเพื่อมนุษย์ทุกคนที่ได้รับเชิญให้เข้าสู่พระหฤทัยที่เผยอยู่ จะได้ตักตวงความรอดพ้นจากพุน้ำนิรันดร (ข้อความจาก บทนำขอบพระคุณวันสมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าในมิสซาบูชาขอบพระคุณจารีตโรมัน) โดยเฉพาะเธอผู้กำลังป่วยอยู่ควรรู้สึกเข้าใกล้ชิดสนิทดวงพระหฤทัยที่เต็มเปี่ยมด้วยความรักนี้และได้รับการเชิญตักตวงน้ำพุนี้ด้วยความเชื่อและปีติยินดีโดยภาวนาว่า "น้ำจากสีข้างของพระคริสต์ชำระข้าพเจ้า พระมหาทรมานของพระคริสต์บันดาลให้ข้าพเจ้าเข้มแข็งเปี่ยมพลัง โอ้ พระเยซูผู้ทรงดีเหลือล้น โปรดสดับฟังข้าพเจ้า ในรอยแผลของพระองค์ได้ซ่อนข้าพเจ้าไว้" (คำภาวนาของ นักบุญอิกญาซีโอ แห่งโลโยลา)
5) สุดท้ายในสาส์นฉบับนี้ของข้าพเจ้า ขอกล่าวถึงวันผู้ป่วยสากลในครั้งต่อไป ข้าพเจ้าปรารถนาส่งความรักต่อทุกคนและแต่ละคนด้วยความรู้สึกที่ข้าพเจ้าอยากมีส่วนแบ่งปันความทุกข์ทรมานและความหวังซึ่งแต่ละวันท่านประสบอยู่ในการเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสต์ผู้ทรงถูกตรึงกางเขนและกลับคืนพระชนมชีพ เพื่อขอพระองค์จะได้ทรงประทานสันติสุขและการเยียวยารักษาใจแก่ท่าน ขอพระนางมารีย์พรหมจารีดูแลเอาใจใส่เคียงข้างท่านพร้อมกับพระองค์ซึ่งเราให้เกียรติพระนามของพระนางด้วยความมั่นใจว่าเป็น "ความรอดของคนไข้และองค์บรรเทาผู้ทุกข์ยาก" ณ เชิงกางเขนทำให้คำประกาศของซีเมโอนเป็นจริงขึ้นมา ที่ว่า "ส่วนท่านเอง ดาบจะแทงทะลุจิตใจของท่าน" (เทียบ ลก 2:35) จากห้วงเหวแห่งความทุกข์ระทมและจากการมีส่วนร่วมกับพระมหาทรมานของพระบุตร ทำให้พระนางมารีย์ได้ยอมรับพันธกิจใหม่ นั่นคือกลายเป็นพระมารดาของพระคริสต์ในท่ามกลางศิษย์ของพระองค์ ขณะถูกตรึงบนไม้กางเขน พระเยซูทรงแนะนำศิษย์แต่ละคนให้กับพระนางว่า "คุณแม่นี่คือลูกของคุณแม่" (เทียบ ยน19: 26-27) การร่วมทุกข์ร่วมสุขฐานะพระมารดากับพระบุตรกลายเป็นการร่วมทุกข์ร่วมสุขฐานะพระมารดากับเราแต่ละคนในความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นแต่ละวัน (เทียบ บทเทศน์ที่เมืองลูร์ด 15 กันยายน 2008)
พี่น้องที่รัก โอกาสวันผู้ป่วยสากล ข้าพเจ้าเชื้อเชิญท่านผู้มีอำนาจทางการเมืองทั้งหลายด้วย เพื่อท่านทั้งหลายจะได้ลงมือลงแรงสร้างระบบสุขภาพอนามัยให้ดียิ่งยิ่งขึ้นในอันที่จะสนับสนุนช่วยเหลือผู้กำลังทุกข์ทรมานโดยเฉพาะผู้ยากไร้และผู้อยู่ในความต้องการมากที่สุด และสำหรับทุกสังฆมณฑล ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาด้วยความรักมายังพระสังฆราช พระสงฆ์ ผู้รับเจิม สามเณร เวชบุคคล อาสาสมัคร และทุกท่านที่กำลังอุทิศตนด้วยความรักในการดูแลเอาใจใส่ และบรรเทาทุกข์รอยแผลของพี่น้องผู้กำลังเจ็บป่วยทั้งในโรงพยาบาล ในสถานพยาบาล และในครอบครัว ขอให้ท่านเรียนรู้ที่จะมองเห็นใบหน้าแห่งใบหน้าทั้งหลายเสมอ อันได้แก่ พระพักตร์ของพระคริสต์ในใบหน้าของผู้ป่วย
ข้าพเจ้ามั่นใจที่จะระลึกถึงทุกท่านในคำภาวนา ข้าพเจ้าขออวยพรมายังทุกท่าน
จากวาติกัน
21 พฤศจิกายน 2010 สมโภชพระเยซูเจ้า กษัตริย์แห่งสากลจักรวาล
Benedictus P.P. XVI
พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

(แปลโดยคณะนักบวชคามิลเลียนประเทศไทย)

Information
สื่อใหม่แผนกสุขภาพ 2012
แผนงานเวชบุคคลคาทอลิก 2013
ประเมินผลงานเวชบุคคล 2012  
แผนงานผู้สูงอายุ 2013 ปี 25 5
ประเมินผลงานผู้สูงอายุ 2012
VCD งานด้านเอดส์
VCD งานผู้สูงอายุ
ทำเนียบหน่วยงานด้านเอดส์
ทำเนียบชมรมผู้สูงอายุคาทอลิก
ทำเนียบชมรมเวชบุคคลคาทอลิก
ทำเนียบหน่วยงานสุขภาพ
SuratThani Diocese Ratchaburi Diocese Bangkok Archdiocese Chanthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubon Ratchathani Diocese Tharae Archdiocese Udon Thani Diocese NakhonSawan Diocese Chieng Mai Diocese Chieng Mai Diocese Nakhonsawan Diocese Ratchaburi Diocese Suratthani Diocese Chthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubonratchathani Diocese Tharae Arcdiocese Udonthani Diocese แผนที่
เครือข่ายผู้สูงอายุ
เครือข่ายเวชบุคคล
เครือข่ายงานเอดส์
Chieng Mai Diocese NakhonSawan Diocese Udon Thani Diocese Tharae Archdiocese Ubon Ratchathani Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Chanthaburi Diocese Bangkok Archdiocese Ratchaburi Diocese SuratThani Diocese


 


© CHC
สำนักเลขาธิการ :
122/11 ถนนนนทรี 14 เขตยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120
Tel. / Fax. 66 2 681 5857 E-mail : chc@cbct.net

Update : Dec 2012