ENGLISH
ความเป็นมา โครงสร้าง
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
กิจกรรม
สารวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 25555
สารวันเอดส์โลก
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 76
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 8
ชมรมเวชบุคคลคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะอนุกรรมการฯ เพื่อผู้สูงอายุ
คณะอนุกรรมการฯ งานเอดส์
จดหมายข่าว
โครงการใหม่แผนกสุขภาพอนามัย
แผนที่เดินทาง
สาส์นพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16
โอกาสวันผู้ป่วยสากลครั้งที่ 18
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2010

(แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาอิตาเลียน
โดยบาทหลวงคัลเดราโร่ เอร์เมเนยิลโด้ และบาทหลวงสิรนนท์ สรรเพ็ชร์)

"พระศาสนจักรในพันธกิจรับใช้ความรักต่อผู้ทุกข์ทรมาน"

สารของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ในโอกาสวันผู้ป่วยสากลครั้งที่ 18
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 ฉลองครบรอบ 25 ปีแห่งการก่อตั้งสมณสภาเพื่อผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพอนามัย (การอภิบาลสุขภาพอนามัย)
พี่น้องที่รัก
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ปีหน้า (ปี ค.ศ. 2010) ด้านพิธีกรรมตรงกับวันระลึกถึงแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด และเป็นวันฉลองผู้ป่วยสากลครั้งที่ 18 ซึ่งจะจัดฉลองเป็นทางการที่มหาวิหารวาติกัน โอกาสเดียวกันที่เราจะแสดงความชื่นชมยินดีกับการก่อตั้งสมณสภาเพื่อผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพอนามัยครบ 25 ปี
เป็นอีกวาระหนึ่งที่จะร่วมกันโมนาคุณพระเจ้าสำหรับเส้นทางชีวิตและภารกิจในแวดวงการอภิบาลสุขภาพอนามัยที่ดำเนินมาจนถึงวันนี้ ในใจจริงๆ ข้าพเจ้าหวังว่า การฉลองครบรอบ 25 ปีนี้จะเป็นโอกาสที่ช่วยกระตุ้นงานธรรมทูตแห่งเมตตาจิตต่อการบริการรับใช้ผู้ป่วยและผู้ที่ดูแลพวกเขาให้มีมากขึ้นอีก
 
อันที่จริง การฉลองผู้ป่วยสากลในแต่ละปี พระศาสนจักรได้มุ่งเน้นให้สมาชิกของพระศาสนจักรรู้สึกตระหนักอย่างถ่องแท้ในสายเลือดเกี่ยวกับความสำคัญของการบริการรับใช้ด้านการอภิบาลในโลกสุขภาพอนามัย อันเป็นการบริการรับใช้ที่ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่เชื่อมโยงติดอยู่กับพันธกิจของพระศาสนจักรเพราะการบริการรับใช้ในโลกสุขภาพอนามัยได้ถูกจารึกไว้ในรอยในร่องของแผนการนำความรอดของพระคริสต์ พระองค์ผู้ทรงเป็นแพทย์ประเสริฐ "เสด็จผ่านไปที่ใด ทรงกระทำความดีและรักษาทุกคนที่อยู่ใต้อำนาจของปีศาจ" (กจ 10: 38) ความทุกข์ทรมานของมนุษย์ได้รับการส่องสว่างให้เห็นคุณค่าความหมายและความสมบูรณ์โดยอาศัยพระธรรมล้ำลึกแห่งความทุกข์ทรมาน ความตาย และการกลับคืนชีพ ในพระโอวาทเรื่อง "ความหมายของความทุกข์ทรมานแห่งมนุษย์จากแง่ของคริสตชน" (Salvifici Doloris) ผู้รับใช้พระเจ้า พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ได้ทรงอธิบายให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับ "ความทุกข์ทรมานของมนุษย์" โดยทรงลิขิตไว้ว่า " "ความทุกข์ทรมานของมนุษย์ได้ขึ้นถึงระดับสุดยอดแล้วในมหาทรมานขององค์พระคริสต์ แต่ในเวลาเดียวกัน ก็ห่อหุ้มตนด้วยมิติใหม่ และเข้าสู่ระเบียบใหม่ นั่นคือ ความทุกข์ทรมานได้รับการนำให้ไปผูกพันกับความรัก กับความรักที่สร้างสรรค์สิ่งดี โดยดึงสิ่งดีออกมา แม้จากสิ่งร้าย ดึงสิ่งดีออกมาโดยอาศัยความทุกข์ทรมาน ทำนองเดียวกับที่คุณประโยชน์สูงสุดของการไถ่กู้โลก เป็นสิ่งที่ได้มาจากมหากางเขนขององค์พระคริสต์ และได้อาศัยมหากางเขนนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นตลอดไป มหากางเขนขององค์พระคริสต์ได้กลายเป็นท่อธารบ่อเกิดแห่งสายน้ำ "ธาราชีวิต" (ข้อ 18).
 
พระเยซูคริสตเจ้า ในระหว่างอาหารค่ำครั้งสุดท้าย ก่อนที่พระองค์ทรงกลับไปหาพระบิดา ได้น้อมพระองค์ลงล้างเท้าอัครสาวก ถือเป็นการกระทำที่สุดยอดที่บอกล่วงหน้าอย่างชัดเจนถึงความรักแห่งไม้กางเขน ด้วยการกระทำเช่นนี้ พระองค์ทรงเชื้อเชิญบรรดาสาวกของพระองค์ให้เลียนแบบฉบับความรักในรูปแบบเดียวกันนี้ เป็นพิเศษแก่ผู้ต่ำต้อยและแก่ผู้ที่อยู่ในความต้องการมากที่สุด (เทียบ ยน 13: 12-17) คริสตชนแต่ละคนโดยอาศัยแบบอย่างของพระองค์ก็ได้รับการเรียกให้ดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่และในบริบทที่แตกต่างกัน ดังเรื่องราวชาวสะมาเรียใจดีซึ่งเมื่อเดินผ่านชายที่ถูกปล้นและถูกทิ้งอยู่ข้างทางแทบปางตาย "จึงเดินเข้าไปหา รู้สึกสงสาร เทน้ำมันและเหล้าองุ่นลงบนบาดแผลแล้วพันผ้าให้ นำเขาขึ้นหลังสัตว์ของตนพาไปถึงโรงแรมแห่งหนึ่งและช่วยดูแลเขา วันรุ่งขึ้นเขานำเงินสองเหรียญออกมอบให้เจ้าของโรงแรมไว้กล่าวว่า 'ช่วยดูแลเขาด้วย เงินที่ท่านจะจ่ายเกินไปนั้น ฉันจะคืนให้เมื่อกลับมา" (ลก10:33-35)
 
ในตอนจบเรื่องราวชาวสะมาเรียใจดี พระเยซูตรัสว่า ""ท่านจงไปและทำเช่นเดียวกันเถิด" (ลก 10: 37) พระองค์ตรัสคำเหล่านี้แก่เราด้วย พระองค์ทรงกระตุ้นเราที่จะถ่อมตัวลงต่อการบาดเจ็บทางร่างกายและทางจิตใจของผู้คนมากมายที่เป็นพี่น้องของเราซึ่งเราได้พบกับพวกเขาตามถนนสายต่างๆในโลกของเรา พระองค์ทรงช่วยเราให้เข้าใจด้วยพระหรรษทานที่ได้รับและที่ดำเนินในชีวิตประจำวันว่า ประสบการณ์แห่งความเจ็บป่วยและความทุกข์ทรมานสามารถกลายเป็นโรงเรียนแห่งความหวัง อันที่จริง ตามที่ข้าพเจ้าได้กล่าวในสมณสาสน์เรื่อง รอดพ้นด้วยความหวัง (Spe salvi) "ไม่ใช่เป็นการเดินเลี่ยงหรือหนีไปจากความทุกข์ทรมานซึ่งเราควรได้รับการเยียวยารักษา แต่น่าจะอาศัยความสามารถที่จะกล้ายอมรับความทุกข์ทรมานนั้นซึ่งจะช่วยเราให้เจริญเติบโต และค้นหาคุณค่าความหมายโดยผ่านทางการรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสต์ซึ่งทนทุกข์ทรมานด้วยความรักสุดพรรณนา" (ข้อ 37)
สภาพระสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ได้ให้ความสำคัญกับภารกิจของพระศาสนจักรในการดูแลเอาใจใส่ด้านความทุกข์ทรมานของมนุษย์ ในเอกสารธรรมนูญด้านพระธรรม กล่าวถึง พระศาสนจักร (Lumen Gentium) เราได้อ่านว่า "พระคริสตเจ้าได้ทรงรับใช้พระบิดามา 'เพื่อประกาศข่าวดีแก่คนยากจน… สมานแผลของผู้ที่เป็นทุกข์ใจ' (ลก 4:18) 'ตามหา และช่วยให้รอดสิ่งซึ่งได้เสียไป' (ลก 19:10) เช่นเดียวกัน คนทั้งหลายที่ต้องทุกข์ร้อน เพราะความป่วยไข้ประสามนุษย์ พระศาสนจักรก็เข้าช่วยเหลือด้วยความรักเมตตาจิต, ยิ่งกว่านั้นอีก ท่านยังรับรู้ว่า : คนอย่างนี้แหละ เป็นภาพลักษณ์ขององค์ผู้สถาปนาสร้างตัวท่านมา, คือเป็นคนที่ยากจนและทุกข์ร้อน พระศาสนจักรจึงพยายามทุเลาบรรเทาพวกคนที่อยู่ในความต้องการ และมุ่งรับใช้พระคริสตเจ้าในตัวพวกเขา (ข้อ 8) ตลอดเวลาหลายศตวรรษที่ผ่านมา
 
ภารกิจของพระศาสนจักรในการช่วยเหลือด้านเมตตาจิตและด้านชีวิตฝ่ายจิตแก่ผู้ป่วยและผู้ทุกข์ทรมานได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่อยู่ในโครงสร้างสุขภาพอนามัยและทั้งที่เป็นรูปแบบของสถาบันก็ดี ณ ตรงนี้เอง ข้าพเจ้าขอส่งความระลึกถึงไปยังทุกหน่วยงานทุกรูปแบบเหล่านี้ที่ได้รับการจัดการโดยตรงจากสังฆมณฑลและจากความมีใจเมตตาของสถาบันนักบวชต่างๆ นี่เป็น "มรดก" อันทรงคุณค่าที่เกี่ยวข้องกับความจริงที่ว่า "ความรักจึงต้องมีการบริหารจัดการ หากต้องการจะให้มีการบริการชุมชนอย่างเป็นระเบียบ" (พระสมณสาสน์ พระเจ้าคือความรัก - Deus caritas est ข้อ 20). การก่อตั้งสมณสภาเพื่อผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพอนามัยช่วง 25 ปีที่ผ่านมาเป็นเรื่องของความพร้อมของพระศาสนจักรในโลกสุขภาพอนามัย และข้าพเจ้าอยากเติมเต็มที่ว่า ณ ช่วงปัจจุบันแห่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สิ่งหนึ่งที่สัมผัสได้ยิ่งกว่านั้นอีกคือ ความจำเป็นในการอยู่เคียงข้างผู้ป่วยอย่างจริงจังของพระศาสนจักรและการปรากฏตนเองของพระศาสนจักรในสังคมด้วยซึ่งถือเป็นโอกาสสามารถถ่ายทอดคุณค่าแห่งพระวรสารในวิธีที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นคือการปกป้องชีวิตในทุกขั้นตอนตั้งแต่กำเนิดและตายอย่างธรรมชาติ
ข้าพเจ้าขอยกข้อความจากสารถึงผู้ยากไร้ ผู้ป่วย และผู้ทุกข์ทรมานซึ่งบรรดาปิตาจารย์แห่งสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ได้กล่าวแก่โลกในตอนจบของการประชุมสังคายนา "ท่านทุกคนที่รู้สึกถึงความหนักของกางเขน...ท่านผู้ซึ่งกำลังร้องไห้...ท่านซึ่งตกเป็นเชลยไร้นามของความทุกข์ทรมาน จงกล้าหาญเถิด ท่านเป็นบุตรที่ชื่นชอบยิ่งนักแห่งอาณาจักรพระเจ้าอันเป็นอาณาจักรแห่งความหวัง ความสุข และชีวิต ท่านเป็นพี่น้องของพระคริสต์ที่กำลังทุกข์ทรมาน และพร้อมกับพระองค์ท่าน หากท่านมีใจปรารถนา ท่านจะเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยให้โลกรอด" (Ench. Vat., I, ข้อ 523, หน้า 313]). จากใจของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอขอบคุณทุกท่านที่ทุกวันนี้กำลัง "บริการรับใช้ผู้ป่วยและผู้ทุกข์ทรมาน" "การแพร่ธรรมในงานเมตตากรุณาควรจะตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ" (พระสมณสาสน์ของพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 เรื่อง นายชุมพาบาลที่ดี -Pastor Bonus, ข้อ 152).
ในปีพระสงฆ์นี้ ข้าพเจ้าอยากจะกล่าวถึงท่านเป็นพิเศษ บรรดาพระสงฆ์ที่รัก ท่านเป็น "ศาสนบริกรรับใช้ผู้ป่วย" อันเป็นเครื่องหมายและเครื่องมือแห่งความเมตตากรุณาของพระคริสต์ซึ่งทุกคนที่ถูกตราไว้ซึ่งความทุกข์ทรมานจะต้องเข้าให้ถึง ข้าพเจ้าขอเชื้อเชิญท่าน บรรดาพระสงฆ์ที่รัก ไม่ควรสงวนท่าทีของตนเองในการให้การดูแลเอาใจใจใส่และบรรเทาใจพวกเขา เวลาที่ถูกใช้ไปในการอยู่เคียงข้างผู้ที่อยู่ในความทุกข์ยากลำบากเผยแสดงในตัวมันเองถึงพระหรรษทานอันอุดมสำหรับทุกมิติอื่นๆ ของการอภิบาล ในที่สุด ข้าพเจ้าขอกล่าวกับท่าน บรรดาผู้ป่วยที่รัก ข้าพเจ้าขอให้ท่านสวดภาวนาและยกถวายความทุกข์ทรมานของท่านสำหรับบรรดาพระสงฆ์เพื่อพวกเขาจะได้ซื่อสัตย์ต่อกระแสเรียกและเพื่อศาสนบริการของพวกเขาจะได้เกิดผลมั่งคั่งทางชีวิตฝ่ายจิต ทั้งนี้เพื่อความดีของพระศาสนจักรทั้งมวล
ด้วยความรู้สึกที่ดีเหล่านี้ ข้าพเจ้าวิงวอนขอความคุ้มครองปกป้องเยี่ยงมารดาของพระนางมารีย์ องค์ความรอดของคนไข้ (Salus infirmorum) ลงมายังผู้ป่วยและผู้ที่ดูแลเอาใจใส่พวกเขา
และจากใจข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขออวยพรมายังทุกท่าน
จากวาติกัน 22 พฤศจิกายน 2009: วันสมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลโลก
Benedictus P.P. XVI
พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

(แปลโดยคณะนักบวชคามิลเลียนประเทศไทย)

Information
สื่อใหม่แผนกสุขภาพ 2012
แผนงานเวชบุคคลคาทอลิก 2013
ประเมินผลงานเวชบุคคล 2012  
แผนงานผู้สูงอายุ 2013 ปี 25 5
ประเมินผลงานผู้สูงอายุ 2012
VCD งานด้านเอดส์
VCD งานผู้สูงอายุ
ทำเนียบหน่วยงานด้านเอดส์
ทำเนียบชมรมผู้สูงอายุคาทอลิก
ทำเนียบชมรมเวชบุคคลคาทอลิก
ทำเนียบหน่วยงานสุขภาพ
SuratThani Diocese Ratchaburi Diocese Bangkok Archdiocese Chanthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubon Ratchathani Diocese Tharae Archdiocese Udon Thani Diocese NakhonSawan Diocese Chieng Mai Diocese Chieng Mai Diocese Nakhonsawan Diocese Ratchaburi Diocese Suratthani Diocese Chthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubonratchathani Diocese Tharae Arcdiocese Udonthani Diocese แผนที่
เครือข่ายผู้สูงอายุ
เครือข่ายเวชบุคคล
เครือข่ายงานเอดส์
Chieng Mai Diocese NakhonSawan Diocese Udon Thani Diocese Tharae Archdiocese Ubon Ratchathani Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Chanthaburi Diocese Bangkok Archdiocese Ratchaburi Diocese SuratThani Diocese


 


© CHC
สำนักเลขาธิการ :
122/11 ถนนนนทรี 14 เขตยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120
Tel. / Fax. 66 2 681 5857 E-mail : chc@cbct.net

Update : Dec 2012