ENGLISH
ความเป็นมา โครงสร้าง
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
กิจกรรม
สารวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 25565
สารวันเอดส์โลก
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 76
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 8
ชมรมเวชบุคคลคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะอนุกรรมการฯ เพื่อผู้สูงอายุ
คณะอนุกรรมการฯ งานเอดส์
จดหมายข่าว
โครงการใหม่แผนกสุขภาพอนามัย
แผนที่เดินทาง
ท่าทีของบุคลากรทางการแพทย์กับความตาย
"ไม่มีใครมีสิทธิ์กำหนดความตายให้ใครได้ แม้เป็นคนที่สังคมได้ลงความเห็นแล้วว่าเป็นคนโชคร้าย กำพร้า หรือพิการแต่กำเนิด"
 ชมรมเวชบุคคลคาทอลิกแห่งประเทศไทย มีกำเนิดจากคณะแพทย์คาทอลิกที่รวมตัวกันตั้งเป็น "คณะแพทย์คาทอลิก" เมื่อปี 2510 ภายใต้การดูแลของมุขนายกแห่งมิสซังกรุงเทพฯ และเป็นเครือข่ายหนึ่งของสมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย เพื่อทำการศึกษาและทำความเข้าใจข้อคำสอนของพระศาสนจักรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพแพทย์ ต่อมา คณะแพทย์คาทอลิก เห็นว่าจำนวนสมาชิกมีน้อยและยังมีเวชบุคคลคาทอลิกด้านอื่นๆ ที่ยังไม่มีการจัดตั้งกลุ่มจึงรวมบรรดาแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมและได้เปลี่ยนชื่อเป็น ชมรมเวชบุคคลคาทอลิก ขึ้นโดยมีนักบุญลูกาเป็นองค์อุปถัมภ์ ทุกปีในวันที่18 ตุลาคมซึ่งเป็นวันฉลองนักบุญลูกา ทางชมรมจัดกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมด้านสังคมหรือกิจกรรมทางวิชาการแก่สมาชิก ปัจจุบัน นายแพทย์ฤทธิไกร อัครสกุล รักษาการประธานชมรมฯ
        ชมรมเวชบุคคลคาทอลิกแห่งประเทศไทย จัดประชุมประจำปี 2546 ที่ชั้น 11 ตึกรวมจิตเพียรธรรม โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2546 ในหัวข้อ "ท่าทีของบุคลากรทางการแพทย์กับความตาย:ประสบการณ์ของผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงานกับผู้ป่วย" มีบรรดาแพทย์ เภสัชกร พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ เข้าร่วมประชุม 40 คน วิทยากรสำคัญที่มาแบ่งปันประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยและความตาย คือ บาทหลวงแสวง สามิภักดิ์ บาทหลวงสมชาย อัญชลีพรสันต์ ศาตราจารย์นายแพทย์วรวุฒิ จรรยาวนิช นายธนาพัทธ์ โพธิยา โดยร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์ โดยบาทหลวงแสวงกล่าวในฐานะผู้ป่วยว่า "โดยทั่วไปคนไข้ที่เดินเข้ามาในโรงพยาบาลล้วนแต่มาพร้อมกับความเครียด และเมื่อต้องอยู่ในโรงพยาบาลแล้วอาการเครียดก็ยิ่งมากขึ้น เพราะ 1.ไม่คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว 2.สูญเสียเสรีภาพและความเป็นส่วนตัว 3.เพื่อนร่วมห้องมีแขกมาก ฯลฯ แต่คนไข้ก็ยังจำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อรักษาโรค ภัย ฉะนั้น หมอที่ดีที่คนป่วยอยากเห็นไม่ใช่หมอที่รักษาไม่ให้ตายเท่านั้น แต่เป็นหมอที่มีความเมตตาและรักคนไข้"
บาทหลวงสมชาย กล่าวในฐานะผู้อภิบาลผู้ป่วยใกล้ตาย "บ่อยครั้งที่บุคลากรเวชบุคคลฯ ละเลยต่อเสียงร้องของคนป่วยเพราะความเคยชิน จนพลาดโอกาสดูแลเขาในวินาทีสุดท้ายก่อนสิ้นใจ ดังนั้นการเตรียมตัวผู้ป่วยใกล้ตายอย่างดีเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะอาจเป็นโอกาสที่คนหนึ่งจะเสียความเชื่อมั่นต่อตนเองและต่อพระเป็นเจ้าได้ ผู้ที่อยู่ในวิชาชีพนี้ถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อคนป่วยมาก ขอฝากว่า "คุณเองก็สามารถมีหัวใจแห่งการอภิบาลได้ โดยประคับประคองเขาไปให้ถึงจุดหมายนั้น ไม่ปล่อยให้เขาเดินทางตามลำพังและอย่าห่วงว่าคุณจะทำหน้าที่นั้นไม่ดีเพียงพอ เพราะคนที่มีหัวใจต่อคนป่วยอย่างจริงใจแล้ว เมื่อภารกิจสำคัญอยู่ตรงหน้าพระเป็นเจ้าจะประทานวิธีการรักษามาให้คุณเอง"
         คุณธนาพัทธ์ ในฐานะเคยมีประสบการณ์ใกล้ความตายจากการติดเชื้อเอชไอวีเล่าว่า "เพราะอาการป่วยนั้นทำให้มีโอกาสสัมผัสกับการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล แต่เป็นสัมผัสด้วยคำพูดและท่าทีที่ซ้ำเติม ในประสบการณ์นั้นทำให้เข้าใจสภาพของคนที่ใกล้จะตายว่า สิ่งที่เขาต้องการมากที่สุดก็คือ เพื่อนสักคนที่นั่งเป็นกำลังใจอยู่ข้างๆ ส่วนคนป่วยที่ใกล้ตายแต่ไม่ยอมแพ้ชีวิต ผู้ที่ให้กำลังใจที่ดีที่สุดไม่ใช่ใครที่ไหนแต่คือ ตัวเขาเอง"
นายแพทย์วรวุฒิ ให้ข้อคิดในฐานะแพทย์และอาจารย์ว่า "สิทธิการตาย การอนุมัติให้ตาย แนะนำให้ตาย ปล่อยให้ตายเองโดยปราศจากความเจ็บปวด การส่งเสริมให้ตาย ข้อต่างๆ เหล่านี้ไม่มีใครมีสิทธิ์กำหนดความตายให้กับใครได้ แม้เป็นคนที่สังคมได้ลงความเห็นแล้วว่าเป็นคนโชคร้าย หรือกำพร้า หรือเกิดมาแล้วจะพิการ ดังนั้นสถาบันการศึกษาแพทย์มีภาระหน้าที่ต้องส่งเสริมคุณธรรม-จริยธรรมกับนิสิตมากเท่ากับวิชาแพทย์ เพราะแพทย์ต้องช่วยคนไข้ระยะสุดท้ายด้วยวิจารณญาณ และด้วยความรักควบคู่กันไป ในการจัดการบริหารความเสี่ยงทางการแพทย์กับคนป่วยจะประสบความสำเร็จได้สูงสุดก็จากบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ดูแลคนป่วยในเบื้องต้นมาอย่างดี"
ภาคบ่ายมีการปรึกษาแนวทางการดำเนินงานของชมรมฯ ที่ประชุมร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาพบว่าเนื่องจากการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องยังมีน้อย และยังมีข้อเสนอว่าควรสนับสนุนให้เกิดชมรมเวชบุคคลคาทอลิกในกลุ่มโรงพยาบาลคาทอลิก รวมถึงกลุ่มสถาบันต่างๆ และคณะนักบวชให้เกิดความเข้มแข็ง นอกจากนี้ชมรมฯ ต้องเร่งติดตามนิสิตแพทย์คาทอลิกซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในอนาคตของชมรม เพื่อปูพื้นฐานด้านจิตตารมณ์ความเชื่อคาทอลิก
           จากนั้นผู้เข้าร่วมประชุมร่วมบูชามิสซาโอกาสฉลองนักบุญลูกาองค์อุปถัมภ์เวชบุคคลฯ ที่วัดพระจิตเจ้าด้วยกัน
Information
สื่อแผนกสุขภาพ
แผนงานเวชบุคคลคาทอลิก 2014
รายงานผลการปฏิบัติงานชมรมผู้สูงอายุ 2014
ประเมินผลงานเวชบุคคล 2013
แผนงานผู้สูงอายุ 2014
ประเมินผลงานผู้สูงอายุ 2013>
VCD งานด้านเอดส์
VCD งานผู้สูงอายุ
ทำเนียบหน่วยงานด้านเอดส์
ทำเนียบชมรมผู้สูงอายุคาทอลิก
ทำเนียบชมรมเวชบุคคลคาทอลิก
ทำเนียบหน่วยงานสุขภาพ
SuratThani Diocese Ratchaburi Diocese Bangkok Archdiocese Chanthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubon Ratchathani Diocese Tharae Archdiocese Udon Thani Diocese NakhonSawan Diocese Chieng Mai Diocese Chieng Mai Diocese Nakhonsawan Diocese Ratchaburi Diocese Suratthani Diocese Chthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubonratchathani Diocese Tharae Arcdiocese Udonthani Diocese แผนที่
เครือข่ายผู้สูงอายุ
เครือข่ายเวชบุคคล
เครือข่ายงานเอดส์
Chieng Mai Diocese NakhonSawan Diocese Udon Thani Diocese Tharae Archdiocese Ubon Ratchathani Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Chanthaburi Diocese Bangkok Archdiocese Ratchaburi Diocese SuratThani Diocese


 


© CHC
สำนักเลขาธิการ :
122/11 ถนนนนทรี 14 เขตยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120
Tel. / Fax. 66 2 681 5857 E-mail : chc@cbct.net

Update : Dec 2012