ENGLISH
ความเป็นมา โครงสร้าง
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
กิจกรรม
สารวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 25565
สารวันเอดส์โลก
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 76
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 8
ชมรมเวชบุคคลคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะอนุกรรมการฯ เพื่อผู้สูงอายุ
คณะอนุกรรมการฯ งานเอดส์
จดหมายข่าว
โครงการใหม่แผนกสุขภาพอนามัย
แผนที่เดินทาง
โคลนนิ่ง : การแปลงพันธุ์มนุษย์…
ทำสำเนามนุษย์ ผิดจริยธรรมหรือไม่ ?

เนื่องจากความเจริญด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยเฉพาะความก้าวหน้าด้านการทำพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) การสำเนาพันธุ์ (Cloning) ฯลฯ ที่กำลังสร้างประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในเวลานี้ว่าการวิจัยทดลองและนำมาใช้ซึ่งเทคโนโลยีชีวภาพนี้ "ผิดต่อจริยธรรมหรือไม่?"
ต่อคำถามนี้หากย้อนกลับไปหาถึงที่มาแล้วเริ่มจากที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกมีวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลาเพื่อปรับสมดุลให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและนำไปสู่การกลายพันธุ์(Mutation) นั่นคือยีน(Gene) ที่เป็นหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่างๆ ในสิ่งมีชีวิตนั้นมีส่วนประกอบสำคัญคือ ดีเอ็นเอ (DNA) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการแสดงออกของลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต แต่ปัจจุบันมนุษย์กลับเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการกำหนดการกลายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ โดยการสังเคราะห์ชิ้นส่วนยีนรวมถึงถ่ายฝากยีนของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์หนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกสายพันธุ์หนึ่งด้วยวิธีพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) ให้เกิดการสร้างสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ที่ดีที่สุด  แม้ว่าการวิจัยดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงคุณลักษณะของสิ่งมีชีวิตให้ดีกว่าเดิม แต่อีกด้านหนึ่งคือความกังวลต่อผลที่ตามมาว่าแนวโน้มของผลผลิตอาจมีภัยต่อสุขภาพและที่สำคัญคือการทดลองที่ต้องกระทำกับสิ่งมีชีวิต ควรต้องมีขอบเขตเพียงใดจึงจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในสังคม

ศาสนาคิดอย่างไรต่อเทคโนโลยีการแปลงพันธุ์มนุษย์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ร่วมกันจัดเวทีอภิปรายขึ้นมาเพื่อร่วมกันหาคำตอบภายใต้หัวข้อ "แนวคิดแต่ละศาสนาหลักในประเทศไทยต่อเรื่องชีวจริยธรรม" เมื่อปลายปีที่แล้วโดยมีผู้แทน ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ร่วมกันแสดงทัศนะพร้อมกับผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 100 คน

มุมมองประเด็นการทำลายชีวิต
เทคโนโลยีสร้างมนุษย์ใหม่ขึ้นมาโดยกระบวนการผสมเทียม (เด็กหลอดแก้ว) ที่สร้างตัวอ่อนขึ้นมาหลายๆ ตัวและเลือกตัวอ่อนที่ดีที่สุดไว้ส่วนที่เหลือจะถูกกำจัดไป ต่อวิธีการนี้ผู้แทนทุกศาสนาต่างเห็นพ้องกันว่าการทำลายตัวอ่อนที่เหลือจากการคัดเลือกแล้ว แม้จะเป็นขั้นตอนหนึ่งของการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ "ถือเป็นการทำลายชีวิตที่หลักศาสนาไม่ยอมรับเพราะการทำลายตัวอ่อนเท่ากับทำลายสิ่งสร้างของพระผู้สร้างย่อมถือว่าเป็นการฆ่า ไม่ว่าจะฆ่าด้วยเหตุผลหรือรูปแบบใดก็ตาม

มุมมองในประเด็นการคัดเลือกพันธุ์และเพศมนุษย์
การพัฒนาเทคโนโลยีทางพันธุศาสตร์เพื่อพัฒนาการรักษาโรคมีกระบวนการเช่นเดียวกับการสร้างมนุษย์ใหม่ ที่ทำการคัดเลือกตัวอ่อนที่มีคุณลักษณะที่ตรงตามความต้องการที่สุด ในมุมมองจากผู้แทนสามศาสนามีว่า "เนื่องด้วยกระบวนการคัดเลือกพันธุ์มนุษย์ให้ได้ตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ย่อมนำไปสู่การกำจัดเผ่าพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ ขัดต่อหลักคำสอนของศาสนาที่กล่าวว่า ความสมบูรณ์ของมนุษย์ต้องรวมถึงการมีจิตใจที่ดีงาม และอยู่ร่วมกันด้วยการช่วยเหลือเกื้อกูล หากในกระบวนการคัดเลือกพันธุ์ไม่มีความระมัดระวังก็จะเป็นการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั่นเอง

มุมมองในประเด็นสิทธิการจ้างงานและการประกันสุขภาพ
การค้นพบวิธีตรวจหาข้อมูลที่สำคัญบางประการ เช่น รหัสพันธุกรรมชุดที่ควบคุมการเกิดโรค ความสูง ความแข็งแรง ฯลฯ หากมีการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เรียกร้องผลประโยชน์หรือกำจัดกลุ่มที่ไม่ต้องการให้หมดไป อาทิกรณีการจ้างงานบุคลากรที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ หรือการประกันสุขภาพที่จะใช้ข้อมูลไปประกอบการพิจารณาทำกรมธรรม์ประกันชีวิต ในมุมมองของผู้แทนทั้งสามศาสนา มีความเห็นพ้องกันว่า สิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีของแต่ละคนจะต้องได้รับความเคารพ อาจมีข้อยกเว้นในประเด็นเรื่องโรคติดต่อที่มีอันตรายร้ายแรงต่อส่วนรวม แต่ทั้งนี้เมื่อเป็นการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแล้ว มิใช่เพียงแค่การทำนายโอกาสว่าอาจจะเกิดขึ้นได้

หลักความเชื่อที่สำคัญของคริสตชน
ในการอภิปรายของกลุ่มศาสนาคริสต์ ได้มีการอภิปรายถึงปรัชญาและหลักความเชื่อที่สำคัญของคริสตชนกับประเด็นการแปลงพันธุ์มนุษย์ มีข้อสรุปของกลุ่มดังนี้
1. ชีวิตเริ่มต้นเมื่อใด คาทอลิกเชื่อว่าชีวิตเริ่มต้นเมื่อวินาทีแรกที่ไข่และอสุจิมีการผสมกัน (Fertilization) การทำโคลนนิ่งโดยการผสมไข่และอสุจิไว้เป็นจำนวนมาก และเลือกเอาเอ็มบริโอที่ดีที่สุดจึงไม่อาจยอมรับได้ เพราะมีตัวอ่อนจำนวนหนึ่งต้องถูกทำลายไป แม้มีจุดประสงค์ดีแต่วิธีการไม่ถูกต้อง พระศาสนจักรก็ไม่อาจยอมรับได้
2. ความเชื่อเรื่องพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สร้างชีวิตเป็นผู้กำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นผู้มอบความสมบูรณ์ที่สุดของมนุษย์ มนุษย์มีหน้าที่มีชีวิตอยู่อย่างดีงามจนถึงเวลาอันสมควร ความสมบูรณ์นั้นมิได้หมายความแค่เพียงมีร่างกาย (Physical) ที่สมบูรณ์ปราศจากโรคเทานั้น แต่รวมถึงการมีจิตใจที่ดีงามและอยู่ร่วมกันด้วยการเกื้อกูล การตัดแต่งพันธุกรรมโดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้มนุษย์มีความสมบูรณ์พร้อมที่สุดยังทำได้เพียงการสร้างทางกายภาพ ซึ่งความสมบูรณ์ทางกายภาพส่วนหนึ่งอาจเป็นการทำลายวิถีทางของพระเจ้าที่จะช่วยให้มนุษย์ได้มีโอกาสช่วยเหลือกันในทางสังคมและจิตใจ
3. ความเจริญทางวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมิใช่เป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับพระเป็นเจ้า แต่เป็นเพียงความจริงที่มนุษย์ค่อยๆ ค้นพบเพิ่มขึ้นเท่านั้น และยังมีอีกหลายสิ่งที่จะเกิดตามมาที่มนุษย์ไม่อาจคาดเดาได้(Consequence) มนุษย์จึงต้องใช้สติปัญญาในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ด้วยความระมัดระวังและคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นคนและการเคารพในชีวิตอื่นด้วย
4. ประเด็นในเรื่องสิทธิการรับรู้ข้อมูลและผลกระทบต่อการจ้างงานและการประกันชีวิต แม้ว่าแต่ละศาสนาจะยังไม่มีการพิจารณาในเรื่องนี้มากนัก แต่ก็มีท่าทีที่สอดคล้องกันคือ การใช้หลักของความเมตตาและการปฏิบัติให้เกิดความร่มเย็นเกื้อกูลกันในสังคม ทุกศาสนามองว่าคุณค่าของของชีวิตไม่ได้วัดกันที่มีอายุยืนยาวแต่วัดกันที่คุณธรรมและความสามารถที่จะก้าวไปถึงจุดหมายบางอย่างอันเป็นความดีงามของชีวิตดังจะเห็นได้จากผู้พิการหรือมีความบกพร่องทางร่างกายจำนวนมากประสบความสำเร็จระดับโลก

การใช้วิทยาศาสตร์มาเพื่อตรวจหาและทำนายความเสี่ยงต่างๆ ต่อการเกิดโรคในอนาคต จะต้องไม่ใช้ไปเพื่อการกีดกันมนุษย์ในสิทธิของการทำงาน แต่หากใช้เพื่อการวินิจฉัยและป้องกันปัญหาอันอาจจะเกิดแก่ส่วนรวมก็เป็นเรื่องควรพิจารณา แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง

Information
สื่อแผนกสุขภาพ
แผนงานเวชบุคคลคาทอลิก 2014
รายงานผลการปฏิบัติงานชมรมผู้สูงอายุ 2014
ประเมินผลงานเวชบุคคล 2013
แผนงานผู้สูงอายุ 2014
ประเมินผลงานผู้สูงอายุ 2013>
VCD งานด้านเอดส์
VCD งานผู้สูงอายุ
ทำเนียบหน่วยงานด้านเอดส์
ทำเนียบชมรมผู้สูงอายุคาทอลิก
ทำเนียบชมรมเวชบุคคลคาทอลิก
ทำเนียบหน่วยงานสุขภาพ
SuratThani Diocese Ratchaburi Diocese Bangkok Archdiocese Chanthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubon Ratchathani Diocese Tharae Archdiocese Udon Thani Diocese NakhonSawan Diocese Chieng Mai Diocese Chieng Mai Diocese Nakhonsawan Diocese Ratchaburi Diocese Suratthani Diocese Chthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubonratchathani Diocese Tharae Arcdiocese Udonthani Diocese แผนที่
เครือข่ายผู้สูงอายุ
เครือข่ายเวชบุคคล
เครือข่ายงานเอดส์
Chieng Mai Diocese NakhonSawan Diocese Udon Thani Diocese Tharae Archdiocese Ubon Ratchathani Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Chanthaburi Diocese Bangkok Archdiocese Ratchaburi Diocese SuratThani Diocese


 


© CHC
สำนักเลขาธิการ :
122/11 ถนนนนทรี 14 เขตยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120
Tel. / Fax. 66 2 681 5857 E-mail : chc@cbct.net

Update: Dec 2012