ENGLISH
ความเป็นมา โครงสร้าง
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
กิจกรรม
สารวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 25565
สารวันเอดส์โลก
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 76
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 8
ชมรมเวชบุคคลคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะอนุกรรมการฯ เพื่อผู้สูงอายุ
คณะอนุกรรมการฯ งานเอดส์
จดหมายข่าว
โครงการใหม่แผนกสุขภาพอนามัย
แผนที่เดินทาง
บทความแปล
"การอภิบาลผู้ใกล้ตาย"     
ถอดความโดย บาทหลวงนรินทร์ ศิริวิริยานันท์
จากหนังสือ DOLENTIUM HOMINUM ฉบับที่ 51 ปี ที่ 17 ปีค.ศ.2002

 การทำงานอภิบาลผู้ใกล้ตายถือว่าเป็นงานที่มีเกียรติมาก แต่การทำงานแบบนี้ยังต้องขึ้นกับบรรยากาศวัฒนธรรมที่ ดูเหมือนจะไม่อยากได้ยินคำว่า "ตาย" ทั้งนี้อาจเป็นเพราะบรรยากาศของวัตถุนิยมและสุขนิยมที่คิดว่า "ความตาย" เป็นเรื่องต้องห้าม ความเจริญก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ ฯลฯ จะเห็นได้จากการที่ไม่ใช้คำว่าตายโดยตรง แต่เลี่ยงไปใช้คำอื่นแทน เช่น "เขาได้จากโลก…จากเราไปแล้ว" หรืออะไรทำนองนี้ทำให้ความตายไม่มีคุณลักษณะของมนุษย์เหลืออยู่เลย
แต่ทุกคนทราบดีว่าความตายเป็นของแน่นอนที่สุด จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องเอาชนะความกลัวนี้ให้จงได้ และเพื่อจะสามารถเอาชนะบรรยากาศดังกล่าวได้ ต้องทำให้ความตายมีคุณลักษณะของมนุษย์มากขึ้น เช่น ควรตื่นตัว กับความตาย พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับความตายไม่ใช่วิ่งหนี แต่ให้รู้จักทำใจเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความตาย และให้เรียนรู้เกี่ยวกับความตาย
         โดยธรรมชาติเมื่อรู้ว่าต้องเผชิญหน้ากับความตาย จะเกิดความเศร้าซึ่งมีผลต่อท่าทีและสภาพของจิตใจอันก่อ ให้เกิดความสับสนหรือความขมขื่นขึ้นได้ อย่างไรก็ตามการยอมรับการต่อสู้ การประท้วง หรือกระทั่งการปิดตัว ล้วนก่อให้เกิดความสิ้นหวัง ความหดหู่ทั้งสิ้น ส่งผลไปสู่การ สะเทือนใจ ความกลัว ความเศร้าฯลฯ ตามมา จึงจำเป็นที่เขาจะต้องได้รับความบรรเทาใจจากทั้งภายในและภายนอก

ภายนอก ก็เช่น การมีสถานที่พยาบาลหรือผู้ให้การพยาบาลที่ดีรวมทั้งหยูกยาอีกด้วย กำลังใจจากคนใกล้ชิดและการเงิน
ภายใน เช่น ปรัชญาชีวิต ความเชื่อในหลักธรรมคำสอน ชีวิตฝ่ายจิตและคำภาวนา
          ตัวอย่างของการสนทนาที่ทำให้รู้ถึงปฏิกิริยาและท่าทีของผู้กำลังตายและรูปแบบของความสัมพันธ์ของผู้ให้ การอภิบาล
         แจ๋ว อายุห้าสิบปี มีครอบครัวแล้วและมีลูกสาวสามคน เธอเข้าโรงพยาบาลได้สิบกว่าวันแล้วเพื่อรักษาโรคมะเร็งตับ เธอสารภาพกับบาทหลวงที่ไปเยี่ยมและรับฟังเรื่องราว ของเธอด้วยความเห็นใจว่า : เธอเบื่อชีวิตไม่อยากเห็นผู้คนจึงแกล้งทำเป็นหลับตลอดเวลา เธอบ่นต่อไปอีกว่าเธอพยายามสวดขอพระเป็นเจ้าแต่ดูเหมือนพระองค์จะไม่ฟังคำภาวนาของเธอ บาทหลวงนิ่งฟังอย่างสงบแต่แสดงความเห็นใจ แล้วเธอก็เริ่มบ่นว่าโรคร้ายนี้ได้ทำลายชีวิตของเธอ มันเริ่มขึ้นที่เต้านมเมื่อเจ็ดปีก่อนนี้แล้วลามไปเรื่อยๆ แม้ว่าจะผ่าตัด ไปแล้วก็ตามโรคร้ายยังสร้างความเจ็บปวดทุกข์ทรมานให้เธอทั้งร่างกายและจิตใจ ประการสำคัญจะให้เธอบอกกับสามีและลูกๆ ได้อย่างไรว่า "เธอกำลังจะตาย" บาทหลวงพยายามบรรเทาใจเธอและแนะนำให้เธอบอกความจริงให้แก่ครอบครัวของเธอ แต่เธอเองกลับทำใจไม่ได้เพราะกลัวว่าพวกเขาจะต้องเป็นทุกข์มากขึ้น บาทหลวงกล่าวว่า การเจ็บป่วยคราวนี้คงสอนอะไรเธอบางอย่างเป็นแน่ เธอตอบว่าใช่ เพราะมันสอนเธอว่าสามีและลูกๆ ของ เธอเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดสำหรับเธอ….บาทหลวงชวนเธอให้ภาวนาด้วยกันแต่ดูเหมือนว่าเธอยังทำใจไม่ได้ พร้อมกันนี้ เธอสารภาพอีกว่าเธอห่างเหินจากพระเจ้ามาช้านานแต่บาทหลวงให้กำลังใจว่า "พระอยู่ใกล้เธอเสมอ" เธอยิ้มกับถ้อยคำประโยคนี้ "ขอบคุณคุณพ่อที่ได้แวะเยี่ยม"
         จากการสนทนานี้จะเห็นว่า แจ๋วมีความรู้สึกผิดหวังต่อพระเป็นเจ้าที่ดูเหมือนไม่ได้ฟังคำภาวนาของเธอ เธอเศร้ากับโรคภัยไข้เจ็บ เสียใจกับชีวิตที่ทำให้คนรอบข้างต้องเป็นทุกข์ แต่งานอภิบาลที่ดีการมีความรู้สึกร่วมและเต็มไปด้วยความเคารพซึ่งแสดงออกได้จากเวลาที่สนทนากับ คนป่วย ความเห็นอกเห็นใจ รู้จักเงียบ รู้จักสนทนาด้วยท่าทางที่เป็นมิตรและจริงใจและการภาวนาในตอนสุดท้าย ทำให้คนป่วยเปิดใจกล้าพูดถึงความเจ็บปวดและความรู้สึกที่แท้จริงของตนเองออกมาได้

ท่าทีที่ควรหลีกเลี่ยงในการไปเยี่ยมผู้ป่วยหนักคือ

1. การแสดงใบหน้าบอกบุญไม่รับ
2. แสดงความสงสารมากกว่าความเคารพ
3. เห็นว่าเขาเป็นคนป่วยมากกว่าเป็นบุคคล
4. พูดแต่เรื่องเจ็บป่วยโดยที่ไม่ได้สอดแทรกเรื่องอื่นเข้า
5. ใช้คำพูดที่รบกวนมากกว่าให้ความบรรเทา
6. พูดถึงการเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากความตายหรือไปตัดสินความรู้สึกของเขาเช่นว่า "อย่าพูดเช่นนั้น" "เธอไม่ควรมีความรู้สึกเช่นนั้น" ฯลฯ หรือให้ความหวังอย่างลมๆแล้งๆ

ท่าทีที่ควรปฏิบัติต่อคนป่วย อันทำให้เขารู้สึกซาบซึ้งในการมาเยี่ยม และดีใจที่ได้พบเรา 
1. ยอมรับฟังและยอมรับกับความเงียบ
2. เคารพต่อการเลือกของผู้ป่วย
3. เคารพความเชื่อที่แตกต่าง
4. พูดถึงเรื่องความหลังบ้าง
5. พูดถึงประสบการณ์และผลสำเร็จของเขาบ้าง
6. ยอมรับการสารภาพของเขา
7. ทำให้สิ่งเล็กน้อยมีคุณค่าโดยนำเอาทรัพยากรด้านมนุษย์ และด้านฝ่ายจิตของเขาออก
8. อย่าอยู่นาน
9.การเยี่ยมที่เต็มไปด้วยความรู้สึกร่วมจะทำให้คนป่วยมีความหวังตามความเป็นจริงและระลึกถึงด้วยความรู้คุณและดำเนินชีวิตธรรมล้ำลึกของชีวิตและความตายต่อไปอย่างมีคุณค่าฯลฯเป็นต้น
        ทั้งนี้ในการอภิบาลผู้ใกล้ตายไม่เพียงต้องนำคุณค่าทั้งของผู้เยี่ยมออกมาสัมผัสกับผู้ป่วยเท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีการฝึกฝนทักษะในการอภิบาล เพื่อให้การเยี่ยมเยียนนี้เต็มไปด้วยพระพรของทั้งสองฝ่าย
Information
สื่อแผนกสุขภาพ
แผนงานเวชบุคคลคาทอลิก 2014
รายงานผลการปฏิบัติงานชมรมผู้สูงอายุ 2014
ประเมินผลงานเวชบุคคล 2013
แผนงานผู้สูงอายุ 2014
ประเมินผลงานผู้สูงอายุ 2013>
VCD งานด้านเอดส์
VCD งานผู้สูงอายุ
ทำเนียบหน่วยงานด้านเอดส์
ทำเนียบชมรมผู้สูงอายุคาทอลิก
ทำเนียบชมรมเวชบุคคลคาทอลิก
ทำเนียบหน่วยงานสุขภาพ
SuratThani Diocese Ratchaburi Diocese Bangkok Archdiocese Chanthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubon Ratchathani Diocese Tharae Archdiocese Udon Thani Diocese NakhonSawan Diocese Chieng Mai Diocese Chieng Mai Diocese Nakhonsawan Diocese Ratchaburi Diocese Suratthani Diocese Chthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubonratchathani Diocese Tharae Arcdiocese Udonthani Diocese แผนที่
เครือข่ายผู้สูงอายุ
เครือข่ายเวชบุคคล
เครือข่ายงานเอดส์
Chieng Mai Diocese NakhonSawan Diocese Udon Thani Diocese Tharae Archdiocese Ubon Ratchathani Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Chanthaburi Diocese Bangkok Archdiocese Ratchaburi Diocese SuratThani Diocese


 


© CHC
สำนักเลขาธิการ :
122/11 ถนนนนทรี 14 เขตยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120
Tel. / Fax. 66 2 681 5857 E-mail : chc@cbct.net

Update : Dec 2012