ENGLISH
ความเป็นมา โครงสร้าง
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
กิจกรรม
สารวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 25565
สารวันเอดส์โลก
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 76
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 8
ชมรมเวชบุคคลคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะอนุกรรมการฯ เพื่อผู้สูงอายุ
คณะอนุกรรมการฯ งานเอดส์
จดหมายข่าว
โครงการใหม่แผนกสุขภาพอนามัย
แผนที่เดินทาง
ความเจ็บป่วย คือ พระพรจริงหรือ ?
บทสัมภาษณ์ คุณพ่อประเสริฐ   โลหะวิริยะศิริ
เดือนพฤศจิกายน พระศาสนจักรคาทอลิกให้คริสตชนทำการระลึกถึงผู้ล่วงลับเป็นพิเศษ และยังกำหนดให้วันที่ 1 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย ที่เป็นเช่นนี้มีความหมายเพื่อให้ช่วงโอกาสนี้ศาสนิกชนได้ไตร่ตรองถึงการใช้ "ชีวิต" ของตนเองอย่างจริงจัง แน่นอนว่าเมื่อเราต้องทบทวนถึงวิถีการดำเนินชีวิตว่าอยู่ในครรลองครองธรรมหรือไม่ตลอด 1 ปี มันคงเป็นเรื่องดีถ้าเราจะทำการไตร่ตรองถึงวิธีการใช้ร่างกายควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิตด้วย
เมื่อพูดถึง "ร่างกาย" เรื่องที่สัมพันธ์กันก็คือ "สุขภาพ" คำนี้เป็นเหมือนอีกฝั่งหนึ่งของเหรียญที่เป็นเรื่องเดียวกันแท้ๆ แต่เรามักลืมไป ดังนั้นเป็นการดีที่ช่วงนี้เราจะมาไตร่ตรองคำว่า "สุขภาพ" ภายใต้มุมมองของความเชื่อ โดยโอกาสนี้บาทหลวงประเสริฐ โลหะวิริยะศิริ คณะพระมหาไถ่ ได้กรุณาแบ่งปันข้อคิดผ่านทางไปรษณีย์ถึงทุกท่าน หวังว่าการแบ่งปันนี้จะเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้กับท่านได้บ้าง
พระศาสนจักรมีแนวคำสอนต่อเรื่องสุขภาพ ในมิติด้านร่างกายว่าอย่างไร และมิติด้านชีวิตจิตอย่างไร?
เนื่องจากมนุษย์ถูกสร้างมาตามพระฉายาของพระเจ้า มนุษย์ประกอบด้วยร่างกาย และจิตวิญญาณ ไม่ว่ามนุษย์จะรักษาสุขภาพอย่างไรก็ตาม มนุษย์ก็ต้องคำนึงถึงมิติทั้ง 2 ของความเป็นมนุษย์ ฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องยึดเอาความดีเป็นหลักในการดำเนินชีวิต มิใช่เพียงแค่ความพึงพอใจ (Pleasure) ของตนเองเป็นหลัก ประการสำคัญมนุษย์มิใช่เป็นเจ้าของชีวิตที่พระประทานให้ เขาเป็นเพียงผู้บริหารชีวิตเท่านั้น เป้าหมายของการเป็นมนุษย์คือ การกลับไปอยู่กับพระเจ้า (Addresses to the Guid of St.Luke on the Moral and Social Duties of the Medical Profession, Pope XII, Nov.121944, No.6)
ทัศนะของคุณพ่อมองว่า "สุขภาพดี" คือ พระพรจริงหรือ?
ตามทัศนะส่วนตัวแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเรานั้นดีหมด … ไม่ว่าจะมีสุขภาพดีหรือไม่ดี เพราะในความไม่ดีหรือบกพร่องจะมีความดีและบทเรียนสอนอยู่เสมอ เพียงแต่เราต้องมองให้ออก
มุมมองของคาทอลิกต่อ "ความเจ็บป่วยและโรคภัย" คืออะไร?
เราจะต้องยอมรับความจริงที่ว่า ชีวิตของเราที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นทางผ่านไปสู่ชีวิตนิรันดร หรือกลับไปอยู่กับพระ เพราะฉะนั้นร่างกายของเราเปรียบเสมือนกับเครื่องยนต์เมื่อใช้ไปนานๆ ก็ย่อมชำรุดทรุดโทรมไปตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้นความเจ็บไข้ได้ป่วยจึงเป็นเรื่องธรรมดาเพียงแต่ผู้บริหารชีวิตนั้นจะต้องใส่ใจและดูแลสุขภาพของตนให้ดีที่สุดตามที่พระเจ้าทรงมอบหมายให้
โดยทั่วไปคนมักจะเชื่อว่า ผู้ที่จะเกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยของ "คน" ก็คือ แพทย์ พยาบาล หรือสถานรักษาพยาบาลเท่านั้น?
เนื่องจากมนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและจิตวิญญาณ เพราะฉะนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยของตนจึงมิได้ขึ้นอยู่กับแพทย์ พยาบาล หรือสถานพยาบาลเท่านั้น ครอบครัว สังคม ก็มีส่วนที่จะทำให้มนุษย์มีสุขภาพดีขึ้นหรือเลวลงด้วย
พระศาสนจักรมีแนวคำสอนต่อเรื่องสุขภาพ ในมิติด้านร่างกายว่าอย่างไร และมิติด้านชีวิตจิตอย่างไร? เนื่องจากมนุษย์ถูกสร้างมาตามพระฉายาของพระเจ้า มนุษย์ประกอบด้วยร่างกาย และจิตวิญญาณ ไม่ว่ามนุษย์จะรักษาสุขภาพอย่างไรก็ตาม มนุษย์ก็ต้องคำนึงถึงมิติทั้ง 2 ของความเป็นมนุษย์ ฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องยึดเอาความดีเป็นหลักในการดำเนินชีวิต มิใช่เพียงแค่ความพึงพอใจ (Pleasure) ของตนเองเป็นหลัก ประการสำคัญมนุษย์มิใช่เป็นเจ้าของชีวิตที่พระประทานให้ เขาเป็นเพียงผู้บริหารชีวิตเท่านั้น เป้าหมายของการเป็นมนุษย์คือ การกลับไปอยู่กับพระเจ้า (Addresses to the Guid of St.Luke on the Moral and Social Duties of the Medical Profession, Pope XII, Nov.121944, No.6) ทัศนะของคุณพ่อมองว่า "สุขภาพดี" คือ พระพรจริงหรือ?ตามทัศนะส่วนตัวแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเรานั้นดีหมด … ไม่ว่าจะมีสุขภาพดีหรือไม่ดี เพราะในความไม่ดีหรือบกพร่องจะมีความดีและบทเรียนสอนอยู่เสมอ เพียงแต่เราต้องมองให้ออกมุมมองของคาทอลิกต่อ "ความเจ็บป่วยและโรคภัย" คืออะไร? เราจะต้องยอมรับความจริงที่ว่า ชีวิตของเราที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นทางผ่านไปสู่ชีวิตนิรันดร หรือกลับไปอยู่กับพระ เพราะฉะนั้นร่างกายของเราเปรียบเสมือนกับเครื่องยนต์เมื่อใช้ไปนานๆ ก็ย่อมชำรุดทรุดโทรมไปตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้นความเจ็บไข้ได้ป่วยจึงเป็นเรื่องธรรมดาเพียงแต่ผู้บริหารชีวิตนั้นจะต้องใส่ใจและดูแลสุขภาพของตนให้ดีที่สุดตามที่พระเจ้าทรงมอบหมายให้ โดยทั่วไปคนมักจะเชื่อว่า ผู้ที่จะเกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยของ "คน" ก็คือ แพทย์ พยาบาล หรือสถานรักษาพยาบาลเท่านั้น? เนื่องจากมนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและจิตวิญญาณ เพราะฉะนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยของตนจึงมิได้ขึ้นอยู่กับแพทย์ พยาบาล หรือสถานพยาบาลเท่านั้น ครอบครัว สังคม ก็มีส่วนที่จะทำให้มนุษย์มีสุขภาพดีขึ้นหรือเลวลงด้วย
ศาสนามีบทบาทต่อการเยียวยารักษาของคนหนึ่งได้อย่างไรบ้าง? (ทุกศาสนา)
มนุษย์เรามิได้มีแต่มิติของร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีมิติของวิญญาณด้วย เพราะฉะนั้นศาสนาจึงมีบทบาทที่จะทำให้มนุษย์สุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตวิญญาณด้วย ซึ่งเห็นได้ว่ามนุษย์ที่มีความศรัทธาต่อพระเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เขาเชื่อนั้น จะมีสภาพจิตใจของครอบครัวของเขาดีกว่าและแตกต่างกับคนที่ไม่มีศาสนา
การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นปรัชญาชีวิตที่มีความหมายต่อพุทธศาสนิกชน สำหรับคาทอลิกควรตระหนักต่อวงจรชีวิตเรื่องนี้อย่างไร?
การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นปรัชญาชีวิตที่มีความหมายต่อพุทธศาสนิกชนและเป็นความจริงของชีวิต จึงไม่แปลกอะไรที่คริสตศาสนิกชนจะยอมรับความจริง ในเมื่อพระเยซูเจ้าสอนว่า"พระองค์คือ หนทาง ความจริงและชีวิต"(ยน.14:6)อยู่แล้ว
หวังว่าคำแบ่งปันของคุณพ่อประเสริฐที่ฝากไว้ในโอกาสส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่คงให้ข้อคิดดีๆ เก็บไว้ใช้ตลอดปี 2548 นี้
Information
สื่อแผนกสุขภาพ
แผนงานเวชบุคคลคาทอลิก 2014
รายงานผลการปฏิบัติงานชมรมผู้สูงอายุ 2014
ประเมินผลงานเวชบุคคล 2013
แผนงานผู้สูงอายุ 2014
ประเมินผลงานผู้สูงอายุ 2013>
VCD งานด้านเอดส์
VCD งานผู้สูงอายุ
ทำเนียบหน่วยงานด้านเอดส์
ทำเนียบชมรมผู้สูงอายุคาทอลิก
ทำเนียบชมรมเวชบุคคลคาทอลิก
ทำเนียบหน่วยงานสุขภาพ
SuratThani Diocese Ratchaburi Diocese Bangkok Archdiocese Chanthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubon Ratchathani Diocese Tharae Archdiocese Udon Thani Diocese NakhonSawan Diocese Chieng Mai Diocese Chieng Mai Diocese Nakhonsawan Diocese Ratchaburi Diocese Suratthani Diocese Chthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubonratchathani Diocese Tharae Arcdiocese Udonthani Diocese แผนที่
เครือข่ายผู้สูงอายุ
เครือข่ายเวชบุคคล
เครือข่ายงานเอดส์
Chieng Mai Diocese NakhonSawan Diocese Udon Thani Diocese Tharae Archdiocese Ubon Ratchathani Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Chanthaburi Diocese Bangkok Archdiocese Ratchaburi Diocese SuratThani Diocese


 


© CHC
สำนักเลขาธิการ :
122/11 ถนนนนทรี 14 เขตยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120
Tel. / Fax. 66 2 681 5857 E-mail : chc@cbct.net

Update : Dec 2012