ENGLISH
ความเป็นมา โครงสร้าง
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
กิจกรรม
สารวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 25565
สารวันเอดส์โลก
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 76
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 8
ชมรมเวชบุคคลคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะอนุกรรมการฯ เพื่อผู้สูงอายุ
คณะอนุกรรมการฯ งานเอดส์
จดหมายข่าว
โครงการใหม่แผนกสุขภาพอนามัย
แผนที่เดินทาง
บทความแปล
(สรุปความจาก ADDRESS OF THE HOLY FATHER JOHN JOHN PAUL II เรื่อง Depressive Illness can be a Way to Discover Other Aspects of Oneself and New Forms of Encounter with God จากเอกสาร DOLENTIUM HOMINUM ฉบับ 55 / 2004) แปลโดย ชลอ   วรรณประทีป
ในโอกาส ประชุมวิชาการของนายแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเครียด ครั้งที่ 18 ที่จัดโดย สมณสภาเพื่อการอภิบาลบุคลากรทางการแพทย์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 โอกาสนั้นสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงกล่าวปราศรัยกับบรรดาเวชบุคคลคาทอลิก ซึ่งมีใจความสำคัญว่าดังนี้
พระองค์ทรงชื่นชมต่อพวกเขาที่เพียรพยายามค้นคว้าเพื่อแสวงหาหนทางที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยจากอาการเครียด และทรงขอบคุณต่อผู้ที่เอาใจใส่ดูแลผู้ที่ป่วยด้วยโรคเครียด และช่วยสร้างให้พวกเขามีความหวังในชีวิต
ด้วยการแบ่งปันของบรรดาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญนี้เองทำให้โลกได้ทราบถึงสาเหตุของอาการเครียดที่มีแง่มุมอันสลับซับซ้อน เพื่อเป็นหนทางในการป้องกันในอนาคต นั่นคือ ความเครียดต่างๆ ที่อาจจะเริ่มมาจากอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ความไม่ปรองดองกันระหว่างสามีภรรยาหรือภายในครอบครัว ปัญหาในการทำงาน ความว้าเหว่ และอื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดการขาดความสมดุล จนมีผลต่อสัมพันธ์ภาพในมิติต่างๆ ขาดสะบั้นลงไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังคม อาชีพ หรือครอบครัว อาการเซ็งหรือเบื่อหน่ายชีวิต จนที่สุดลุกลามไปเป็นวิกฤตทางจิตวิญญาณอันเป็นอุปสรรคต่อผู้ป่วยจนไม่สามารถเข้าใจความหมายของชีวิตได้
โรคเครียดน่ารำคาญมากมันส่อให้เห็นถึงความอ่อนแอของมนุษย์ ซึ่งในแง่หนึ่งต้องโทษสังคมด้วย เราต้องทันกับสื่อที่มักเสนอไปในทำนองยกย่องบริโภคนิยม การชอบความสุขแบบชั่วคราว และการแก่งแย่งกันแสวงหาความสุข เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องหาหนทางใหม่ให้คนสร้างเอกลักษณ์ของตนในการสร้างชีวิตจิตซึ่งจะเป็นฐานรากของการเจริญชีวิตแบบผู้ที่มีวุฒิภาวะ
สมเด็จพระสันตะปาปา ทรงเน้นว่าอาการเครียดเป็นความทุกข์ทรมานใจ ดังนั้นบทบาทของพวกท่านในฐานะผู้ดูแลก่อนอื่นหมดต้องช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกชื่นชมตนเอง ความเชื่อมั่นในความสามารถของตน มีความสนใจในอนาคตและอยากที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป ไปจนถึงได้รับรู้ถึงพระเมตตาของพระเป็นเจ้า ให้เขาเข้าไปอยู่ในความเชื่อและชีวิตของชุมชน และด้วยพื้นฐานความเชื่อเดียวกันนี้เองเราจะรู้สึกว่าเป็นที่ยอมรับ เข้าใจ มีคนคอยสนับสนุนให้เกียรติต่อกันและกัน พูดง่ายๆ ก็คือ พวกเขาสามารถที่จะรักและถูกรักได้
ปรากฏการณ์ของโรคเครียด เตือนใจพระศาสนจักรและสังคมให้เห็นถึงความสำคัญที่ต้องมีแบบอย่างและประสบการณ์ของความอดทน เพื่อให้ผู้ป่วยพัฒนาขึ้นในด้านชีวิตจิต โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน ที่นับวันจะอ่อนแอมากขึ้น ไม่ใช่แต่ผู้ที่ถูกทอดทิ้ง คนป่วย หรือผู้สูงอายุ ที่ทุกส่วนของสังคมต้องช่วยกันชวยเหลือพวกเขาให้หลุดพ้นจากความว่างเปล่า หรือจากการแสวงหาสิ่งที่ไร้ค่า ท้ายสุดพระสันตะปาปาได้ให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือบรรดาผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคเครียดและทรงมอบพวกเขาไว้ในคำภาวนาของแม่พระ ผู้เป็นพระมารดาและองค์ความบรรเทาของผู้ป่วย

โรคภัยไข้เจ็บ เป็นผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ ความเข้าใจของเราต่อเรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วยว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของคนหนึ่งคน เพราะเราเห็นว่าอาการของโรคสร้างความทุกข์ให้กับตัวผู้ป่วยเอง แต่ในความเป็นจริงความเจ็บป่วยของหนึ่งคนมีความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และอาจกระทบต่อสังคม ชุมชนได้ หากโรคภัยไข้เจ็บนั้นได้ชื่อว่า เป็น "โรคติดต่อฯ" และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "โรคเอดส์"

ปัจจุบันคนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่เข้าใจเรื่องโรคเอดส์อย่างแท้จริง ทำให้มีผลต่อทัศนะคติและท่าทีต่อผู้ป่วยฯ ขณะที่ทางเลือกด้านสุขภาพของผู้ติดเชื้อฯ ในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษา"โรคเอดส์" ให้หายขาดได้ดังนั้นจึงมีความพยายามหาทางรักษาในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเราคงเคยได้ยินกระแสออกมาอยู่เนืองๆ เรื่อง "ยาสมุนไพรรักษาโรคเอดส์" ที่เล่าลือออกมาว่ากินแล้วหาย จะอย่างไรก็ตามเราไม่อาจยืนยันได้แน่ชัดว่า "สมุนไพร" ที่เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านจะมีสรรพคุณรักษาโรค "ภูมิคุ้มกันบกพร่อง" ได้จริง แต่ความสนใจอยู่ที่ว่ากระแสภูมิปัญญาชาวบ้านได้เข้ามาอยู่ในชีวิตของคนไทยอีกครั้งก็น่าจะเป็นโอกาสให้เรากลับมารื้อฟื้นความดีของสิ่งนี้กันใหม่ และหากวิเคราะห์กันดีๆ แล้ว โรคที่ภูมิปัญญาพื้นบ้านสามารถรักษาให้หายขาดได้ก็คือ "ภูมิความรักบกพร่อง"
หมอขวัญ คือใคร
หมอขวัญหรือหมอชาวบ้าน คือผู้ใหญ่ในชุมชน ที่อาจมีความรู้ความชำนาญทางด้านยาสุมนไพรอยู่ แต่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ประเด็นอยู่ที่ว่าเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถือของชุมชน รักสมาชิกในชุมชนเหมือนลูกหลานตนเอง ซึ่งจุดนี้จะทำให้หมอขวัญคอยติดตาม สังเกตและถามไถ่ลูกหลานในหมู่บ้านที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป นั่นเป็นเพราะโดยธรรมชาติแล้วผู้ที่รู้ตัวว่าติดเชื้อฯ มักจะหลบหน้าและไม่ยอมรับการรักษาจากชุมชน ท้ายสุดก็หนีเตลิดไปอย่างน่าเสียดาย
หมอขวัญจะใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวเข้าไปเกลี้ยกล่อมให้ผู้ป่วยออกมารักษาตัวเอง จากนั้นก็ทำการวินิจฉัยโรคตามอาการแล้วรักษาไปพร้อมๆ กับรักษาด้านจิตใจ โดยให้กำลังใจเพื่อฟื้นฟูภูมิต้านทาน ซึ่งโรคภัยที่ร่างกายแสดงออกนั้น ทางการแพทย์เรียกว่า โรคข้างเคียง หรือโรคฉวยโอกาส นั่นเอง ในการดูแลขั้นท้ายสุดจะเป็นการผูกข้อมือเพื่อเสริมด้านจิตใจ แล้วจากนั้นอยู่ที่การปฏิบัติตนของผู้ติดเชื้อฯ ว่าจะใช้ชีวิตตามที่หมอขวัญแนะนำหรือไม่ สำหรับพิธีผูกข้อมือสู่ขวัญ ถือเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ได้รับการยอมรับจากชุมชน มีการสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน เพราะมีระบบความคิด มีกระบวนการศึกษา มีขั้นตอนการรักษาอย่างเป็นระบบ เพียงแต่ไม่ได้มีบันทึกเป็นตำราที่สอนกันในสถาบันการศึกษาเท่านั้น
รัฐเองรู้ดีว่ายังมี "ภูมิปัญญาชาวบ้าน" อยู่ในมุมต่างๆ ของชุมชนแต่ขณะนี้องค์ความรู้ของคนไทยยังไม่รับการบรรจุให้เข้ามาอยู่ในหลักสูตรการศึกษา พ่อเฒ่าทองจึงได้ฝากถึงลูกหลานคนไทยเอาไว้ว่า "ขอให้สำนึกในบุญคุณภูมิปัญญาที่พ่อแม่ปู่ย่าตายายในอดีตเก็บสะสมมา อย่าตามฝรั่งไปเสียทุกเรื่อง เพราะจิตวิญญาณของเราเองรู้ดีว่าบางเรื่องก็ไม่งามพอที่จะให้เราตามเขาไป"
Information
สื่อแผนกสุขภาพ
แผนงานเวชบุคคลคาทอลิก 2014
ประเมินผลงานเวชบุคคล 2013
แผนงานผู้สูงอายุ 20145
รายงานผลการปฏิบัติงานชมรมผู้สูงอายุ 2014
ประเมินผลงานผู้สูงอายุ 2013
VCD งานด้านเอดส์
VCD งานผู้สูงอายุ
ทำเนียบหน่วยงานด้านเอดส์
ทำเนียบชมรมผู้สูงอายุคาทอลิก
ทำเนียบชมรมเวชบุคคลคาทอลิก
ทำเนียบหน่วยงานสุขภาพ
SuratThani Diocese Ratchaburi Diocese Bangkok Archdiocese Chanthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubon Ratchathani Diocese Tharae Archdiocese Udon Thani Diocese NakhonSawan Diocese Chieng Mai Diocese Chieng Mai Diocese Nakhonsawan Diocese Ratchaburi Diocese Suratthani Diocese Chthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubonratchathani Diocese Tharae Arcdiocese Udonthani Diocese แผนที่
เครือข่ายผู้สูงอายุ
เครือข่ายเวชบุคคล
เครือข่ายงานเอดส์
Chieng Mai Diocese NakhonSawan Diocese Udon Thani Diocese Tharae Archdiocese Ubon Ratchathani Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Chanthaburi Diocese Bangkok Archdiocese Ratchaburi Diocese SuratThani Diocese


 


© CHC
สำนักเลขาธิการ :
122/11 ถนนนนทรี 14 เขตยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120
Tel. / Fax. 66 2 681 5857 E-mail : chc@cbct.net